ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3/1

สำหรับนักเรียนชั้นม.3/1

  1. จตุรงค์ วิริยะธรรม

    ความเจริญนั้น ต้องพร้อมด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ประการหนึ่ง วิชาความรู้ประการหนึ่ง

    และจิตใจสูงประการหนึ่งคือถ้าเราต้องการจะทนุบำรุง ส่งเสริมกำลังของเราให้เข้มแข็ง

    เมื่อเรามีเงิน ก็จะจัดซื้อหาเครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ นานาชนิดที่มีคุณภาพดี

    มาเพิ่มพูนให้มากยิ่งขึ้นเพียงใด ก็ย่อมจะทำได้ หรือถ้าเราต้องการจะส่งเสริม

    สมรรถภาพในทางความรู้ วิทยาการ ใดๆ ให้ทันเทียมกับอารยะประเทศ เราก็จัดส่งคนของเรา

    ให้ออกไปศึกษาค้นคว้า และหาอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบวิทยาการแผนใหม่ๆ

    ในต่างประเทศเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงส่งเสริมสมรรถภาพของเรา ให้เจริญเทียมทันเขาได้

    ซึ่งความเจริญดั่งกล่าวมาแล้วนี้ เราสามารถจะซื้อหาด้วยเงินได้ แต่ความเจริญทางจิตใจนั้น

    เราจะซื้อด้วยเงิน เป็นจำนวนเท่าใดๆ ไม่ได้ ความเจริญทางจิตใจนี้ จึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งนัก

    เพราะเป็นหน้าที่ของแต่ละคน ที่จะต้องทำตัวของตนเองให้ดี เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม. . .

    พระบรมราโชวาท

    ในวันพิธีสวนสนาม และพระราชทานธงชัยประจำกองโรงเรียนตำรวจภูธร ภาค ๔

  2. ศรายุธ คงช่วย

     

    ท่านทั้งหลายควรจักได้เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม ที่จะปฏิบัติงานประสานกับบุคคลอื่นฝ่ายอื่นอย่างขะมักเขม้นและฉลาดเหมาะสม. ในการนี้ ท่าน จะต้องทำความคิดและจิตใจให้เปิดกว้าง แต่หนักแน่น มีเหตุผล มีวิจารณญาณ. พร้อมกันนั้น ก็ต้องมีความจริงใจ เห็นใจ และเมตตาปรองดองกัน โดยถือประโยชน์ส่วนรวมร่วมกันเป็นวัตถุประสงค์เอก. ที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง จะต้องพยายามขจัดความดื้อรั้น ถือตัว ความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ประโยชน์ส่วนน้อยออกให้ได้ ไม่ปล่อยให้เข้ามาครอบงำทำลายความคิดจิตใจที่ดีงามของตน. แล้วท่านจะสามารถปฏิบัติการงานทุกอย่างได้ด้วยความราบรื่น เบิกบานใจ อย่างมี ประสิทธิภาพ และประสบผลสำเร็จตามที่ปรารภปรารถนาทุกสิ่งในที่สุด. . .

    พระบรมราโชวาท

    ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    วันเสาร์ที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๙

  3. นัฏพงศ์ จิตตเจริญสกุล

    สังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วนล้วนพอเหมาะกันทุกๆ ด้านสังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถธำรงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้ และพัฒนาให้ก้าวหน้า ต่อไปได้โดยตลอด ผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาทุกๆ คนจึงต้องถือว่า ตัวของท่านมีความรับผิดชอบต่อชาติบ้านเมืองอยู่อย่างเต็มที่ ในอันที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เที่ยงตรง ถูกต้อง สมบูรณ์โดยเต็มกำลัง จะประมาทหรือละเลยมิได้ เพราะถ้าปฏิบัติให้ผิดพลาดบกพร่องไปด้วยประการใดๆ ผลร้ายอาจเกิดขึ้นแก่ส่วนรวมและประเทศชาติได้มากมาย ทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันสร้างเสริมรากฐานชีวิตอันแข็งแรงสมบูรณ์ให้แก่เยาวชน ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และความรู้ความฉลาด สำคัญที่สุด จะต้องฝึกฝนอบรมให้รู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักตัดสินใจด้วยเหตุผล และรู้จักสร้างสรรค์ตามแนวทางที่สุจริตยุติธรรม. . .

    พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะครูและนักเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลฯ

    ณ ศาลาดุสิดาลัย

    วันจันทร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๒๔

     

  4. อรวรรณ มังคะเล

    “ ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มีทางแก้ไขได้ถ้ารู้จักคิดให้ดี ปฏิบัติให้ถูก
    การคิดได้ดีนั้น มิใช่การคิดได้ด้วยลูกคิด หรือด้วยสมองกล เพราะโลกเราในปัจจุบันจะวิวัฒนาการไปมากเพียงใดก็ตาม ก็ยังไมมีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใด
    สามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างสมบูรณ์ การขบคิดวินิจฉัยปัญหา
    จึงต้องใช้สติปัญญา คือคิดด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอ เพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทผิดพลาด และอคติต่างๆมิให้เกิดขึ้น ช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่างๆ เป็นไปอย่างเที่ยงตรง ทำให้เห็นเหตุเห็นผลที่เกี่ยวเนื่องกัน
    เป็นกระบวนการได้กระจ่างชัด ทุกขั้นตอน “

    จับใจความสำคัญพระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระอยู่หัว
    ให้ไว้โอกาส ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๙

    ความว่า ปัญหาทุกๆอย่างย่อมมีทางแก้เสมอ แค่ตัวเรามีสติ การคิดที่ดีนั้น ไม่ใช่การหวังพึ่งกับสมองกล แต่คือการคิดด้วยสติทุกครั้ง เมื่อเจอกับปัญหาต่างๆ ข้อคิด ปัญหาทุกๆอย่างย่อมมีทางแก้เสมอ แค่ตัวเรามีสติ

    “ คำว่า พอเพียง มีความหมายว่า พอมีกิน เศรษฐกิจแบบพอเพียง หมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้
    ไม่ต้องขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง แปลจากภาษาฝรั่งได้ว่า ให้ยืนบนขาของตัวเอง หมายความว่า
    สองขาของเรายืนบนพื้นให้อยู่ได้ ไม่หกล้ม ไม่ต้องไปขอยืมของคนอื่นเพื่อที่จะยืนอยู่ คำว่า พอ
    คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย
    พอเพียง อาจมีมาก อาจมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น “

    จับใจความสำคัญพระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ให้ไว้โอกาส ที่คณะบุคคลเข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา
    วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
    ความว่า พอเพียงคือการ ยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องไปขอยืมของคนอื่นเพื่อที่จะยืนอยู่คำว่าพอ คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็จะมีความโลภน้อย เมื่อมีน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย พอเพียง อาจมีมาก ก็ได้ แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น
    ข้อคิด คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย

  5. พงศกร พันธ์ฤทธิ์

    “ การทำความดีนั้น สำคัญที่สุดอยู่ที่ตัวเอง ผู้อื่นไม่สำคัญและไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องเป็นห่วงหรือต้องรอคอยเขาด้วย เมื่อได้ลงมือลงแรงกระทำแล้ว ถึงแม้จะมีใครร่วมมือด้วยหรือไม่ก็ตาม ผลที่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน “
    จับใจความสำคัญพระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ให้ไว้โอกาส ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ณ วิหอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐
    ความว่า การทำความดีนั้นไม่จำเป็นจะต้องรอคอยคนอื่นมาร่วมการกระทำด้วย เพราะ เมื่อลงมือทำแล้ว ล้วนแต่มีผลออกมาดีเสมอ
    ข้อคิด การทำดีไม่จำเป็นต้องมีคนอื่นมาร่วมด้วย เพราะจะมีผลดีเสมอ

    “ การดำเนินชีวิตที่ดีจะต้องปรับปรุงตัวตลอดเวลา การปรับปรุงตัวจะต้องมีความเพียรและความอดทนเป็นที่ตั้ง ถ้าคนเราไม่หมั่นเพียร ไม่มีความอดทนก็อาจจะท้อใจไปโดยง่าย เมื่อท้อใจไปแล้วไม่มีทางที่จะมีชีวิตเจริญรุ่งเรืองแน่ ๆ “
    จับใจความสำคัญพระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ให้ไว้โอกาส พระราชทานแก่ครูและนักเรียนโรงเรียนจิตรลดา ณ โรงเรียนจิตรลดา วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๓
    ความว่า การดำเนินชีวิตของคนเรา ต้องมีการปรับปรุงไปเรื่อย ๆ และต้องปรับปรุงด้วยความอดทน ความเพียร และต้องอดทน ต่อสู้โดยไม่ท้อใจ
    ข้อคิด ความอดทน ความเพียร จะทำให้เป็นคนที่เข้มแข็ง และประสบผลสำเร็จ

  6. นิตยา อ่อนมาก เลขที่ 21

    …งานด้านการศึกษาเป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาตินั้น ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพลเมืองเป็นข้อใหญ่ ตามข้อเท็จจริงที่ทราบกันดีแล้ว ระยะนี้บ้านเมืองของเรามีพลเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งมีสัญญาณบางอย่างเกิดขึ้นด้วยว่า พลเมืองของเราบางส่วนเสื่อมทรามลงไปในความประพฤติและจิตใจ ซึ่งเป็นอาการที่น่าวิตก ว่า ถ้าหากยังคงเป็นอยู่ต่อไป เราอาจเอาตัวไม่รอด ปรากฏการณ์เช่นนี้ นอกจากเหตุอื่นแล้ว ต้องมีเหตุมาจากการศึกษาด้วยอย่างแน่นอน จึงพูดได้เต็มปากแล้วว่า เราจะต้องจัดงานด้านการศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น…
    จับใจความสำคัญพระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ให้ไว้โอกาส พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต ณ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๒
    ความว่า การศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของชาติ พลเมืองของเราบางส่วนเสื่อมทรามลงไปในความประพฤติและจิตใจ ซึ่งเป็นอาการที่น่าวิตก จึงพูดได้เต็มปากแล้วว่า เราจะต้องจัดงานด้านการศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น…
    ข้อคิดที่ได้ เราควรศึกษาเล่าเรียน เพื่ออนาคตที่ดี และการศึกษาเข้มแข็งยิ่งขึ้น

    .การให้การศึกษาอีกขั้นหนึ่ง คือ การสอนและการฝึกฝนให้เรียนรู้วิทยาการที่ก้าวหน้าขึ้นไป พร้อมทั้งการฝึกฝนให้รู้จักใช้เหตุผล สติปัญญา และหาหลักการชีวิต เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์ความเจริญงอกงาม ทั้งทางกายและทางความคิด ผู้ทำงานด้านการศึกษาจึงมีความสำคัญเป็นพิเศษ และได้รับความยกย่องเป็นอย่างสูงตลอดมา ในฐานะที่เป็นผู้ให้ชีวิตจิตใจตลอดจนความเจริญทุกอย่างแก่อนุชน…
    จับใจความสำคัญพระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ให้ไว้โอกาส พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต ณ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๑๔
    ความว่า การสอนและการฝึกฝนให้เรียนรู้วิทยาการที่ก้าวหน้า รู้จักใช้เหตุผล สติปัญญา และหาหลักการชีวิต ผู้ทำงานด้านการศึกษาจึงมีความสำคัญเป็นพิเศษ ในฐานะที่เป็นผู้ให้ชีวิตจิตใจตลอดจนความเจริญทุกอย่างแก่อนุชน…

  7. “ภาษาไทยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือของมนุษย์ชนิดหนึ่ง คือเป็นทางสำหรับแสดง
    ความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งสวยงามอย่างหนึ่ง เช่น ในทางวรรณคดี เป็นต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี “
    จับใจความสำคัญพระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ให้ไว้โอกาส ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๑๓
    ความว่า ภาษาไทย หรือจะภาษาไหนก็ตาม เป็นทางสำหรับแสดงความคิดเห็น และก็เป็นสิ่งที่สวยงาม เราจึงควรรักษาภาษาเอาไว้ให้ดี
    ข้อคิดที่ได้ ภาษาเป็นสิ่งที่มีประโยชน์หลายด้าน เราจึงควรอนุรักษ์ภาษาเหล่านี้ไว้ให้ดี

    “ ประเพณีทั้งหลายย่อมมีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของแต่ละคน เรามีประเพณีของชาติไทยเป็นหลัก เราควรจะยินดีอย่างยิ่งและช่วยกันส่งเสริมรักษาไว้ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ “
    จับใจความสำคัญพระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ให้ไว้โอกาส ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬากรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๐๓
    ความว่า ประเพณีต่างๆล้วนมีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของแต่ละคน ประเพณีของชาติไทย เราก็ควรช่วยกันส่งเสริมอนุรักษ์เอาไว้ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศไทย
    ข้อคิดที่ได้ ประเพณีต่างๆล้วนมีความสำคัญกับแต่ละคน เราควรช่วยกันรักษาเอาไว้ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ

    • จิระพงศ์ หนูละออง

      สังคมใดก็ตาม ถ้ามีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ด้วยความมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน สังคมนั้นย่อมเต็มไปด้วยไมตรีจิต มิตรภาพ มีความร่มเย็นเป็นสุข น่าอยู่
      (พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่ออัญเชิญลงพิมพ์ในนิตยสารที่ระลึกครบ 36 ปี ของสโมสรไลออนส์กรุงเทพฯ 31 มี.ค.38)

      ความเจริญของคนทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพชอบ เป็นหลักสำคัญ ผู้ที่จะสามารถประพฤติชอบและหาเลี้ยงชีพชอบได้ด้วยนั้น ย่อมจะมีทั้งวิชาความรู้ ทั้งหลักธรรมทางศาสนา เพราะสิ่งแรกเป็นปัจจัยสำหรับใช้กระทำการทำงาน สิ่งหลังเป็นปัจจัยสำหรับส่งเสริมความประพฤติ และการปฏิบัติงานให้ชอบ คือให้ถูกต้องและเป็นธรรม
      (พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชดำรัสแก่ครูโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม 4 จังหวัดภาคใต้ จ. ปัตตานี 24 ส.ค. 19)

  8. รุ่งทิวา แก้วทอง เลขที่ 26

    “การรู้จักประมาณตน ได้แก่ การรู้จักและยอมรับว่าตนเองมีภูมิปัญญาและความสามารถด้านไหน เพียงใด
    และควรจะทำงานด้านไหน อย่างไร การรู้จักประมาณตนนี้ จะทำให้คนเรารู้จักใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ได้ถูกต้อง
    เหมาะสมกับงาน และได้ประโยชน์สูงสุดเต็มตามประสิทธิภาพ ทั้งยังทำให้รู้จักขวนขวายศึกษาหาความรู้
    และเพิ่มพูนประสบการณ์อยู่เสมอ เพื่อปรับปรุงส่งเสริมศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองให้ยิ่งสูงขึ้น”
    (พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๑)
    จับใจความสำคัญ พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ให้ไว้โอกาส ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑
    ความว่า การประมาณตน ได้แก่ การรู้จักยอบรับว่าตัวเองมีความสามรถในด้านไหน เพียงใด การประมาณตนนี้ จะทำให้คนเราจะได้ใช้ความรู้ความสามารถที่ตนเองมีใช้ในการทำงานที่เหมาะสม และงานที่ได้จะมีประสิทธิภาพสูง และยิ่งทำให้รู้จักขวนขวายหาความรู้มาเพิ่มพูนเพื่อเพิ่มศักยภาพในตนเองให้สูงยิ่งขึ้นไป
    ข้อคิดที่ได้ คือ การรู้จักประมาณตน จะทำให้คนเรารู้จักนำความรู้ความสามารถที่มีอยู่ได้ถูกต้อง เหมาะสมกับงานที่ทำ คนเราจึงต้องรู้จักประมาณตนเพื่อจะได้ทำงานหรือทำอะไรก็ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    “คนไม่มีความสุจริต คนไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่าย ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้
    ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ”
    (พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๒)
    จับใจความสำคัญ พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ให้ไว้โอกาส ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๒
    ความว่า คนที่ไม่สุจริต ไม่มีความมั่นคง เห็นแค่ประโยชน์ส่วนตน จะไม่มีวันที่พวกเขาเหล่านั้นจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญได้หรอก แต่ผู้ที่่สุจริต มีความมั่นคงเท่านั้นที่จะทำงานที่สำคัญและยิ่งใหญ่และมีประโยชน์สูงสำเร็จ
    ข้อคิดที่ได้ คือ คนเราควรมีความสุจริตไม่คิดคดโกง จะมีคนไว้ใจ และสามารถทำงานได้อย่างที่ตนเองต้องการไม่มีใครคอยขัดข้อง

  9. รุ้งทิพย์ พูนขาว ม.๓/๑ เลขที่ ๒๓

    แบบทดสอบท้ายบท เรื่องคำวิเศษณ์
    คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด
    ๑. ข้อใดคือลักษณะของคำวิเศษณ์
    ก. คำขยายหรือประกอบคำนามและสรรพนาม
    ข. คำขยายหรือประกอบคำนามและคำกริยา
    ค. คำขยายหรือประกอบคำนามและคำสรรพนาม และคำกริยา
    ง. คำขยายหรือประกอบคำนามและคำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์
    ๒. ข้อใดมีวิเศษณ์ขยายกริยา
    ก. ต้นไม้ใหญ่ล้ม ข. คนอ้วนเดินช้า
    ค. ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ง. นกเขากินปลาใหญ่
    ๓. คำว่า “หน้า” ในข้อใดเป็นคำวิเศษณ์
    ก. เขามีใบหน้าคมสัน ข. เขานั่งเรียงแถวหน้า
    ค. เขาทำขายหน้า ง. หน้าร้อนแห้งแล้ง
    ๔. คำว่า “มาก” ข้อใดเป็นคำวิเศษณ์ขยายวิเศษณ์
    ก. ฉันรักท่านมาก ข. เขามีเวลามาก
    ค. เด็กคนนี้เรียนเก่งมาก ง. หญิงนั้นชอบกินมาก
    ๕. คำว่า “แก่” ในข้อใดเป็นคำวิเศษณ์
    ก. เขาเห็นแก่ตัว ข. คนแก่มักหูตึง
    ค. เขาให้เงินแก่ฉัน ง. คนอ้วนมักเห็นแก่ตัว
    ๖. คำสถานวิเศษณ์บางคำอาจทำหน้าที่เป็นคำชนิดใด
    ก. คำนาม ข. คำสรรพนาม
    ค. คำกริยา ง. คำบุพบท
    ๗. ข้อใดมีคำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่ขยายกริยา
    ก. ผมไปเยี่ยมคุณตาทุกสัปดาห์ ข. เธอเป็นคนตัวเตี้ย
    ค. ฉันทำแก้วแตกเอง ง. โรงพยาบาลนี้มีแพทย์ประจำ ๗ คน
    ๘. ข้อใดเป็นปฤจฉาวิเศษณ์
    ก. คนไหนอยากไปก็ตามมา ข. คนไหนไม่กินเนื้อหมู
    ค. คนไหนก็มองเหมือนกัน ง. ฉันไม่ชอบคนไหนเลย
    ๙. ข้อใดไม่มีลักษณะวิเศษณ์
    ก. จิตราไม่ชอบกินผักรสขม ข. สุภาแต่งตัวสวยทุกวัน
    ค. วิจิตรเดินไปเดินมา ง. วีณาพูดเสียงเบามาก
    ๑๐. ข้อใดไม่มีประมาณวิเศษณ์
    ก. ฉันมีสวนหลายขนัด ข. เด็กอมลูกอมมากฟันผุ
    ค. เพื่อนฉันกินจุทุกคน ง. ฉันเป็นคนเขียนจดหมาย

  10. บุญดาริกา จามจุรี

    แบบทดสอบ
    1.ใดเว้นช่องไฟสม่ำเสอม มีความหมายว่าอะไร
    ก.ไม่เขียนตัวอักษรห่างหรือชิดกันเกินไปและให้ช่องไฟระหว่างตัวอักษรเท่ากันทุกตัว
    ข.ไม่เล่นห่าง เป็นมาตรฐานเดียวกัน
    ค.ตัวอักษรมีหัวให้เขียนส่วนหัวก่อน
    ง. ต้องเขียนให้ตรงกับตัวอักษร

    2.ตัวอักษรที่มีขนาดกลางมีกี่ตัว
    ก.31
    ข.32
    ค.5
    ง. 9

    3.คำในข้อใดไม่มีตัวสะกด
    ก.เกี่ยว กลัว
    ข.หิว เหว
    ค. แห้ว ริ้ว
    ง .ตั๋ว ริ้ว

    4.ข้อใดมีคำที่เขียนไม่ถูกต้อง
    ก. นักเรียนช่วยกันจัดป้ายนิเทศ
    ข.นกแร้งพากันมาจิกซากศพ
    ค.เราต้องจักเลือกสรรสิ่งที่ดีๆๆ
    ง.แม่ชอบชื่อสินค้าราคาย่อมเยา

    5.ธรรมะยอมรักษาคน…………ประพฤติตนอยู่ในคุณงามความดี
    ก.ถ้า
    ข.ซึ่ง
    ค.อัน
    ง.ผู้
    6คำว่าขาวในข้อใดทำหน้าที่ต่างจากข้ออื่น
    ก.เขาหน้าขาวมาก
    ข.บ้านของฉันทาบ้านสีขาว
    ค.น้ำในแก้วเป็นสีขาว
    ง.เขาชื่อขาวผ่อง
    7.ไม้หันอากาศ ไม้ไต่คู้ นิคหิต จะว่างเหนื่อพยัญชนะที่ถูกต้องที่สุด
    ก.วันจันทร์
    ข.สำหัรบ
    ค.สัมพนัธุ์
    ง.น้อยมาก
    8.ไม่เล่นห่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีความหมายตรงกับข้อใด
    ก.หัวอักษรต้องไม่บอดและมีขนาดเล็กเป็นมาตรฐานเดียวกัน
    ข.หางตัวอักษรยาวพองามตา
    ค.เว้นช่องไฟสม่ำเสมอ
    ง.ไม่เล่นห่าง วางพยัญชนะพอเหมาะ
    9.สระพยัญชนะที่อยู่หน้าในหน้าในข้อใดมากที่สุด
    ก.ใบโบให้น้ำกับตามี
    ข.โตไปเล่นกับเพื่อน
    ค.แมวซ่าชอบกระโดดกำแพง
    ง.เขาหน้าตาน้ารักมากๆๆ
    10ข้อใดเล่นสัมผัสสระเด่นชัดที่สุด
    ก.ลอยสล้างกลางกระแสแลสลอน
    ข.ฝูงพิมพากันหนี้สี้นสุดคอบฟ้า
    ค.แม้สิ้นสูญบุญนางในปางนี้
    ง.จำจะปลอบโดยดีแม้มิไป

  11. อรอนงค์ ช่วยมณี ม.๓/๑ เลขที่ ๑๙

    ข้อสอบ O-net
    ๑.ข้อใดเป็นประโยคความรวม
    ก.ภาพิตวางแผนกำจัดพริกไทยเพื่อแก้แค้น
    ข.ใบข้าววางแผนช่วยพริกไทยภาพิตสำนึกผิด
    ค.ภาพิตรู้สึกเสียใจกับสิ่งที่ทำลงไป
    ง.เมื่อภาพิตขอโทษ พริกไทยก็อโหสิกรรมให้

    ๒.ข้อใดเป็นประโยคความรวม
    ก.เขายื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดศรีสะเกษ
    ข.ขอทานสองผัวเมียโชคดีถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ ๑ โจรเจ้ากรรมกลับแย่งไปจากมือ
    ค.อาชีพต่างๆในกรุงเทพฯมิใช่เหมาะสมกับผู้ที่อพยพมาหางานทำเสมอไป
    ง.ปีนี้มูลนิธิเพื่อเด็กพิการจัดค่ายพักแรมที่เขาใหญ่

    ๓.ข้อใดเป็นประโยคความรวม
    ก.รายการดีมีสาระคือรายการธรรมะยามเช้า
    ข.จิตใจแจ่มใสส่งผลให้สุขภาพแข็งแรง
    ค.เด็กๆในชุมชนบางนาทำความสะอาดพื้นที่รอบๆชุมชน
    ง.ไข้หวัดระบาดโรงเรียนจึงรณรงค์เรื่องความสะอาดมาขึ้น

    ๔.ข้อใดเป็นประโยคความรวม
    ก.ปาริดาร้องเพลงลูกทุ่งเก่งมาก
    ข.นพดลและธนผลนัดซ้อมฟุตบอลทุกเย็น
    ค.ฐานะการเงินโดโชชัยตกต่ำลงมาก
    ง.วสันต์ได้รับคำชมจากอาจารย์เรื่องความล่ำสัน

    ใช้ข้อความต่อไปนี้ ตอบข้อ ๕
    ๑.ผู้ที่มีปัญญาย่อมไม่กระทำสิ่งเสียหาย
    ๒.พัฒนาของเด็กเป็นประเด็นที่พูดถึงกันมากในปัจจุบัน
    ๓.ข้อความตอนนี้พรรณนาความลำบากของชีวิตนักแสดง ได้ดีมาก
    ๔.วิชานี้สมหญิงเรียนก่อนเดินทางไปต่างประเทศ
    ๕.ข้อใดเป็นประโยคความรวม
    ๑. ข้อ ๑ กับ ข้อ ๒
    ๒. ข้อ ๒ กับ ข้อ ๓
    ๓. ข้อ ๓ กับ ข้อ ๔
    ๔. ข้อ ๔ กับ ข้อ ๕

    ๖.ข้อใดเป็นประโยคความรวม
    ก.เธอวิ่งหนีผู้ชายคนนั้นมา
    ข.เธอสวมชุดสายเดี่ยวสีเขียว
    ค.เธอบอกให้เขาเดินช้าช้า
    ง.คุณแม่ของเธอพูดกับตำรวจข้างบ้านเมื่อวานซืน

    ๗.ข้อใดเป็นประโยคความรวม
    ก.สมศักดิ์ขายรถคันโปรดไปแล้ว
    ข.เด็กน้อยร้องเพลงของพี่เบิร์ดได้คล่องแคล่ว
    ค.เจ้าแมวดำจับลูกนกที่อยู่บนต้นมะม่วงอย่างว่องไว
    ง.เมื่อครูมาลีเข้าห้องเพื่อนๆก็ออกไปทานอาหารกลางวันหมดแล้ว

    ๘.ข้อใด คือ ความหมายของประโยคความรวม
    ก.ประโยคที่มีความหมายสมบูรณ์มากกว่าหนึ่งใจความโดยมีสันธานเชื่อม
    ข.ประโยคยาวที่มีใจความสมบูรณ์เพียรความเดียว
    ค.ประโยคยาวที่มีส่วนขยายทั้งประธาน กริยา และกรรม
    ง.ประโยคที่ประกอบด้วยประธาน และภาคแสดง

    ๙.ข้อใดไม่ใช่ประโยคความรวม
    ก.โน้ตตื่นเช้าแต่หนุ่ยตื่นสาย
    ข.น้ำไหลบ่าอย่างรวดเร็วมาก
    ค.คุณจะจ่ายเงินสดหรือจะจ่ายเช็ค
    ง.ลูกสาวช่วยพยาบาลพ่อจึงหารป่วยเร็ว

    ๑๐.ข้อใดเป็นประโยคความรวม
    ก.คุณจะควรไปตามเขาให้ถึงบ้าน
    ข.คุณจะไปวันนี้หรือจะไปพรุ่งนี้
    ค.คุณหรือเพื่อนคุณที่เป็นผู้ทำร้ายเขา
    ง.คุณเหนื่อยก็นั่งพักผ่อนหรือไม่ก็ดื่มน้ำสักแก้ว

  12. หนึ่งฤทัย ห้องเม่ง

    ข้อสอบ O-Net
    วิชา ภาษาไทย เรื่องคำบุพบท 10 ข้อ
    1.ข้อใดใช้คำบุพบทผิด
    ก.นพพรเขียนหนังสือด้วยปากกา
    ข.ผูกเรือไว้กับหลักให้แน่น
    ค.ผู้ร้ายขัดขืนการจับกุมของตำรวจ
    ง.พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพรแด่ประชาชน

    2. คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดทำหน้าที่ต่างจากข้ออื่น
    ก.เพราะเธอเกรียจคร้านจึงทำงานไม่เสร็จ
    ข.คุณพ่อและคุณแม่กำลังจะกลับมาแล้ว
    ค.อาจารย์อบรมสั่งสอนเราด้วยความรัก
    ง.เธอเป็นคนฉลาดแต่ขาดความขยัน

    3. ข้อใด คือความหมายของคำ บุพบท
    ก. เป็นคำทีใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยค เพื่อบอกความเกี่ยวข้อและหน้าที่ของคำเหล่านั้น
    ข. คำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำ มีคำว่า ด้วย โดย นำหน้าคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์
    ค. คำชนิดหนึ่งที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ง. บอกหมวดหมู่ หรือสิ่งที่มีจำนวนมาก

    4. คำบุพบท แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
    ก. ๒ ประเภท คำบุพบทบอกสถานที่ คำบุพบทบอกความเป็นเจ้าของ
    ข. ๓ ประเภท คำบุพบทบอกสถานที่ คำบุพบทบอกความเป็นเจ้าของ คำบุพบทบอกความหมายเกี่ยวข้อง
    ค. ๔ ประเภท คำบุพบทบอกสถานที่ คำบุพบทบอกความเป็นเจ้าของ คำบุพบทบอกความหมายเกี่ยวข้อง คำบุพบทบอกการให้และบอกความประสงค์
    ง. ๖ ประเภท คำบุพบทบอกสถานที่ คำบุพบทบอกความเป็นเจ้าของ คำบุพบทบอกความหมายเกี่ยวข้อง คำบุพบทบอกการให้และบอกความประสงค์ คำบุพบทบอกเวลา คำบุพบทบอกความเปรียบเทียบ

    5. ข้อใด เป็น คำบุพบทบอกสถานที่
    ก. บ้านฉันอยู่ใกล้โรงเรียน
    ข. หนังสือเล่มนี้เป็นของฉัน
    ค. สวนลุมพินีเป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชน
    ง. รถคันนั้นวิ่งเร็วกว่ารถคันนี้

    6. ข้อใด เป็น คำบุพบทบอกความหมายเกี่ยวข้อง
    ก. บ้านฉันอยู่ใกล้โรงเรียน
    ข. หนังสือเล่มนี้เป็นของฉัน
    ค. สวนลุมพินีเป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชน
    ง. รถคันนั้นวิ่งเร็วกว่ารถคันนี้

    7. ข้อใด เป็น คำบุพบทบอกความเป็นเจ้าของ
    ก. บ้านฉันอยู่ใกล้โรงเรียน
    ข. หนังสือเล่มนี้เป็นของฉัน
    ค. สวนลุมพินีเป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชน
    ง. รถคันนั้นวิ่งเร็วกว่ารถคันนี้

    8. ข้อใด เป็น คำบุพบทบอกการให้และบอกความประสงค์
    ก. แห่ง ของ
    ข. บน ใน ใต้
    ค. โดย ทั้ง ด้วย
    ง. สำหรับ กับ แก่

    9. ข้อใด เป็น คำบุพบทบอกเวลา
    ก. เมื่อ ตั้งแต่ จน กระทั่ง
    ข. บน ใน ใต้
    ค. โดย ทั้ง ด้วย
    ง. สำหรับ กับ แก่

    10. ข้อใด เป็น คำบุพบทบอกความเปรียบเทียบ
    ก. บ้านฉันอยู่ใกล้โรงเรีย
    ข. หนังสือเล่มนี้เป็นของฉัน
    ค. สวนลุมพินีเป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชน
    ง. รถคันนั้นวิ่งเร็วกว่ารถคันนี้

  13. นิตยา อ่อนมาก เลขที่ 21

    ข้อสอบเรื่อง สรรพนาม
    ข้อที่ 1 ข้อใดไม่ใช่สรรพนามใช้แทนผู้พูด
    ก. ผม
    ข. ท่าน
    ค. ฉัน
    ง. ข้าพเจ้า
    ข้อที่ 2 ข้อใดมีสรรพนามใช้ชี้ระยะ
    ก. เสื้อสีนี้สวยมาก
    ข. ไหนเสื้อเธอล่ะ
    ค. นั่นคือบ้านของสมชาย
    ง. เวลานั้นเกิดพายุพัดอื้ออึง
    ข้อที่ 3 “ใคร” ในข้อใดเป็นสรรพนามชนิดที่แตกต่างจากข้ออื่น
    ก. ใครจะไปเที่ยวกับเราบ้าง
    ข. ไม่มีใครอยู่ในบ้านเลย
    ค. ใครก็ไม่สามารถช่วยเธอได้
    ง. ใครจะทำอะไรก็ตั้งใจทำ
    ข้อที่ 4 ครูถามนักเรียนที่นั่งหลังห้อง ข้อใดคือสรรพนามใช้เชื่อมประโยค
    ก. ที่
    ข. ถาม
    ค. นั่ง
    ง. หลัง

    ข้อที่ 5 คำว่า “ข้าพระพุทธเจ้า”ใช้กับใคร
    ก. เจ้านายชั้นผู้ใหญ่
    ข. เจ้านายเสมอกัน
    ค. ต่ำกว่าเจ้านาย
    ง. เจ้านายชั้นสูงถูก
    ข้อที่ 6 คำว่า ท่าน ในข้อใดเป็นสรรพนามบุรุษที่ 2
    ก. คุณครูท่านเป็นคนดีมาก
    ข. ผมนำกระเช้าดอกไม้มอบแด่ท่านครับ
    ค. พระอาจารย์ท่านทำนายลักษณะคนได้แม่นยำ
    ง. ชาวบ้านนำปัญหามาปรึกษานายอำเภอ แต่ท่านไม่
    ข้อที่ 7 คำว่า ที่ ในข้อใดเป็นสรรพนามเชื่อมประโยค (ประพันธ์สรรพนาม)
    ก. เขามาที่บ้านฉันทุกวัน
    ข. เธอผิดที่ปิดปังความจริงไว้
    ค. คนที่ยืนอยู่นั่นเป็นพ่อของฉัน
    ง. คุณพ่อซื้อที่ดินจำนวนหลายไร่
    ข้อที่ 8 เด็กชายปุเป้ ต้องการสนทนากับพระสงฆ์เขาควรใช้สรรพนามแทนตนเองว่าอย่างไร
    ก. กระผม
    ข. ข้า
    ค. เรา
    ง. หนู

    ข้อที่ 9 ฝูงค้างคาวกำลังบินออกจากถ้ำและมีบางตัวยังบินวนเวียนเพื่อหาทางออกอยู่ บางตัว เป็นคำชนิดใด
    ก. สรรพนามบอกความไม่เจาะจง
    ข. สรรพนามเชื่อมประโยค
    ค. สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ
    ง. สรรพนามใช้เน้นนามตามความรู้สึกของผู้พูด
    ข้อที่ 10 สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่แบ่งเป็นส่วนๆ เรียกว่า
    ก. อนิยมสรรพนาม
    ข. นิยมสรรพนาม
    ค. วิภาคสรรพนาม
    ง. ประพันธ์สรรพนาม

  14. รุ่งทิวา แก้วทอง เลขที่ 26

    ข้อสอบ
    ข้อที่ ๑ คำในข้อใดมีคำตายทุกคำ
    ก. เลือก แบบ นิด
    ข. อย่า เพิ่ง เบื่อ
    ค. เกลือ ไทย ดี
    ง. ทุก สิ่ง ขาย
    ข้อที่ ๒ ข้อใดเป็นคำเป็นทุกคำ
    ก. แต่ย่างย้ายทรายฝุ่นขย่นยุบ
    ข. ยิ่งเหยียบฟุบขาแข้งให้แข็งขึง
    ค. ยิ่งจวนเย็นเส้นสายให้ตายตึง
    ง. ดูเหมือนหนึ่งเหยียบโคลนให้โอนเอน
    ข้อที่ ๓ คำตายมีตัวสะกดในแม่ใด
    ก. กน กม เกย
    ข. กก กน กบ
    ค. กง กน กม
    ง. กก กด กบ
    ข้อที่ ๔ คำว่า “ แบตเตอรี่ ” มีตัวสะกดในแม่ใด
    ก. กน
    ข. กด
    ค. กบ
    ง. กม
    ข้อที่ ๕ คำเป็นมีตัวสะกดในมาตราใด
    ก. กง กน กม เกย เกอว
    ข. กก กด กบ เกย เกอว
    ค. กง กด กบ กม กก
    ง. เกย เกอว กด กง กม
    ข้อที่ ๖ คำในข้อใดเป็นคำเป็น
    ก. ยุโรป
    ข. เนตบอล
    ค. ปิกนิก
    ง. โฮเต็ล
    ข้อที่ ๗ คำในข้อใดเป็นคำตาย
    ก. ก๋วยจั๊บ
    ข. ก๋วยเตี๋ยว
    ค. บัณฑิต
    ง. ไต้ก๋ง
    ข้อที่ ๘ ข้อความใดมีคำตายทุกคำ
    ก. กระทะทอดนก
    ข. ปลาถูกถอดเกล็ด
    ค. เป็ดว่ายน้ำในสระ
    ง. มดไต่เกะกะบนต้นไม้
    ข้อที่ ๙ ข้อใดเป็นคำเป็นทุกคำ
    ก. กระรอกไต่กิ่งไม้
    ข. แมวตะครุบหนูพุก
    ค. ช้างใช้งวงจับอ้อย
    ง. กวางน้อยวิ่งเร็วจริง
    ข้อที่ ๑๐ ข้อความใดมีคำตายมากที่สุด
    ก. ตะวันคล้อยหนึ่งถึงบางพระ
    ข. ดูระยะบ้านนั้นก็แน่นหนา
    ค. พอพบเรือนเพื่อนชายชื่อนายมา
    ง. เขาโอภาต้อนรับให้หลับนอน

  15. ๑.มาตราตัวสะกดใดที่ต้องใช้อักษรตรงตามมาตราเท่านั้น
    ก.แม่กง
    ข.แม่กด
    ค.แม่กบ
    งแม่กน
    ๒.มาตราตัวสะกดใดที่ใช้อักษรไม่ตรงตามมาตราได้
    ก.แม่กง
    ข.แม่กน
    ค.แม่เกย
    ง.แม่เกอว
    ๓.คำในข้อใดออกเสียงตัวสะกดเหมือนคำว่า “มิตร”
    ก.สุข
    ข.เลข
    ค.นาค
    ง.ฤทธิ์
    ๔.คำในข้อใดตัวสะกดมีรูปพยัญชนะประสมทุกคำ
    ก.สูตร จักร เมฆ
    ข.มิตร โคตร พลิ้ว
    ค.จิตร เนตร สมุทร
    ง.โกรธ ธนิต โทรม

    ๕.คำในข้อใดออกเสียงตัวสะกดของคำหน้าด้วย
    ก.วิตถาร
    ข.รสนิยม
    ค.ทิวทัศน์
    ง.โบราณวัตถุ
    ๖.ประโยคใดมีคำที่เสียงตัวสะกดไม่ปรากฏรูปพยัญชนะ
    ก.ศิษย์ดีครูย่อมรักเอ็นดู
    ข.แดงจะพาน้องไปไหน
    ค.เหนื่อยนักหยุดพักเดี๋ยว
    ง.ดอกบัวบานตระการน่าชม
    ๗.คำในข้อใดเสียงตัวสะกดไม่ปรากฏรูปพยัญชนะทุกคำ
    ก.ลม บ้า หมู
    ข.ดำ ไป ไกล
    ค.วัว กิน หญ้า
    ง.เรือ ขน ทราย
    ๘.ข้อใดใช้ตัวสะกดแม่กด ทั้งหมด
    ก.มิตร กริช พิษ
    ข.จิตร เจริญ นารถ
    ค.สัตว์ กราฟ ชาญ
    ง.ปลด สาคร กราบ

    ๙.ข้อใดใช้ตัวสะกดแม่กนทั้งหมด
    ก.วรรค วัตร ญาติ
    ข.สำราญ ปราศ สราญ
    ค.เจริญ ผลผลิต นิมิต
    ง.ผลาญ กาญจนบุรี สรรเสริญ
    ๑๐.ประโยคใดมีคำที่ใช้ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรามากที่สุด
    ก.การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี
    ข.การดื่มสุราเป็นพิษต่อร่างกาย
    ค.วิ่งทุกวันทำให้ร่างกายแข็งแรง
    ง.วิ่งทุกวันทำให้ร่างกายแข็งแรงคนเราต้องการความสุขในอนาคต

  16. ืนัฏพงศ์ จิตตเจริญสกุล

    1. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
    ก. อักษรต่ำคำตายเสียงสั้นพื้นเสียงเป็นเสียงตรี
    ข. อักษรต่ำคำตายเสียงสั้นใส่รูปวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงเอก
    ค. อักษรสูงคำเป็นพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ
    ง. อักษรกลางคำเป็นและคำตายผันได้ครบทั้ง 5 เสียง

    2. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ สามัญ เอก โท ตามลำดับ
    ก. ตาม หา พ่อ
    ข. หา พ่อ แม่
    ค. วัด ฝั่ง โน้น
    ง. โคลน ติด ข้อ

    3. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ โท ตรี โท ตรี ตามลำดับ
    ก . แม่ ป้า ว่า โม้
    ข. โก้ ไม่รู้เรื่อง
    ค. ว่า พบ ส้ม จี๊ด
    ง. เยื้อง ย่าง ด้าน หน้า

    4. ข้อใดบอกเสียงวรรณยุกต์ของคำต่อไปนี้ถูกต้อง “วาดภาพน้ำตกหรือ”
    ก . สามัญสามัญโทสามัญสามัญ
    ข. สามัญสามัญตรีเอกจัตวา
    ค. โทโทโทสามัญจัตวา
    ง. โทโทตรีเอกจัตวา

    5. ข้อใดบอกเสียงวรรณยุกต์ของคำต่อไปนี้ถูกต้อง “ถูกเขาย่ำยีรึ”
    ก. สามัญ จัตวา เอก สามัญ สามัญ
    ข. สามัญ จัตวา โท สามัญ ตรี
    ค. เอก จัตวา เอก สามัญ ตรี
    ง. เอก จัตวา โท สามัญ ตรี

    6. ข้อใดบอกเสียงวรรณยุกต์ของคำต่อไปนี้ถูกต้อง “ซื้อแฟ้บฝากพี่ช้าง”
    ก. ตรี ตรี เอก โท ตรี
    ข. ตรี โท สามัญ โท ตรี
    ค. โท โท สามัญ โท ตรี
    ง. ตรี ตรี สามัญ โท ตรี

    7. ข้อใดบอกเสียงวรรณยุกต์ของคำต่อไปนี้ถูกต้อง นุชกับนาถถูกน็อค
    ก. สามัญ สามัญ สามัญ สามัญ สามัญ
    ข. ตรี เอก โท เอก ตรี
    ค. เอก เอก เอก เอก ตรี
    ง เอก เอก โท เอก โท

    8. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ตามลำดับต่อไปนี้ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
    ก. พลชาติชายร้องหา
    ข. พันจ่าฟ้องนายก
    ค. พลเอกลาภนัดหมาย
    ง. พลชาญท่านรู้จัก

    9. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ตามลำดับต่อไปนี้ จัตวา ตรี โท เอก สามัญ
    ก. สาวร้องไห้ขาดใจ
    ข. ไหนพูดใหม่ทีสิ
    ค. หวีเล็กนี้ของใคร
    ง. ไหลลดเลี้ยวเหลี่ยมเขา

    10. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ตามลำดับต่อไปนี้ ตรี ตรี ตรี เอก โท
    ก. เลิกนัดกับนุชนะ
    ข นัทรักพุดจีบจ้ะ
    ค. เชือกมัดหมดอีกแล้ว
    ง. แคล้วคลาดฟาดหมดเคราะห์

  17. ข้อสอบo-net
    ๑.คำประพันธ์ในข้อใดไม่แสดงความเชื่อของคนไทย
    ก.ชาตินี้มึงมีแต่สองหัตถ์ จงไปอุบัติเอาชาติใหม่
    ข.ถ้าวาสนาเราเคยบำรุงรัก ก็จะเป็นภักษ์ผลสืบไป
    ค.กรรมเวรสิ่งใดดังนี้ ทูลพลางโศกีรำพัน
    ง.จะได้รองเบื้องบาทา ไปกว่าจะสิ้นชีวี
    ๒.คำประพันธ์ในข้อใดกล่าวถึงสิ่งที่แสดงวัฒนธรรมไทย
    ก.ยาตรยาตรบาทห่อนกระชั้น ช่วงเท้าเทาเสมอ
    ข.แก้วก่องทองสลับล้วน ร่วงรุ้งเรืองรอง
    ค.แห่อยู่สองข้างเข้า คู่คล้อยเคียงไคล
    ง.บังแทรกสองคู่คล้าย สลับริ้วฉัตรเรียง
    ๓.ข้อใดเป็นเจตนาของผู้แต่งคำประพันธ์ต่อไปนี้
    อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ ประเสริฐสุดซ่อนใสเสียในฝัก
    สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย
    ก.สอนให้รู้จักเลือกใช้อาวุธและสติปัญญาให้ถูกเวลา
    ข.สอนเรื่องการใช้สติปัญญาและความรู้ให้ถูกจังหวะ
    ค.แนะนำวิธีการใช้อาวุธให้เกิดผลดีตามความปรารถนา
    ง.แนะนำวิธีการเก็บอาวุธเพื่อให้คมกริบเหมือนมีสติปัญญาอยู่เสมอ
    ๔.ข้อใดไม่ได้กล่าวถึงในคำประพันธ์ต่อไปนี้
    ชนใดมีชาติเชื้อ เลวทรามเพียรอุตส่าห์พยาพยาม
    หมั่นหมั้นอยู่บดอยู่ฝนความ รู้แก่ เกินแฮกลับยศใหญ่ยิ่งชั้น เช่นเชื้อผู้ดี
    ก.คนเราควรตั้งอยู่ในความขยันหมั่นเพียร
    ข.การแสวงหาความรู้เป็นประจำนำไปสู่ความสำเร็จ
    ค.คนนิสัยเลวอาจเปลี่ยนกลับกลายเป็นคนนิสัยดีได้
    ง.คนที่มีกำเนิดต่ำอาจพัฒนาจนเปลี่ยนสถานภาพให้สูงขี้นได้
    คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้ตอบคำถาม ข้อ ๕
    ไป่ถามปราชญ์บ่พร้อง พาทีเปรียบดั่งเภรีตี จึ่งครื้น
    คนพาลพวกอวดดี จักกล่าวถามบ่ถามมันฟื้น เฟื่องถ้อยเกินถาม
    ๕.ข้อใดเป็นจุดประสงค์ของผู้แต่ง
    ก.สอนไม่ให้เป็นคนพูดโอ้อวด
    ข.แนะให้คบนักปราชญ์ที่สงวนคำพูด
    ค.สอนมิให้เอาอย่างคนอวดดี
    ง.แนะให้เป็นผู้ฟังมากกว่าเป็นผู้พูด
    ๖.คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้ภาพพจน์กี่แห่ง
    พระนักสิทธิ์พิศดูเป็นครู่พัก หัวร่อหนักรูปร่างมันช่างขัน
    เมื่อตัวเดียวเจียวกลายเป็นหลายพันธุ์ กำลังมันมากนักเหมือนยักษ์มาร
    เขี้ยวเป็นเพชรเกล็ดเป็นนิลลิ้นเป็นปาน ถึงเอาขวานฟันฟาดไม่ขาดรอน
    ก.๑ แห่ง
    ข.๒ แห่ง
    ค.๓ แห่ง
    ง.๔แห่ง

    คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อ ๗
    หอมไฟไหม้ดินกลิ่นอิฐ เรียงติดลงเตาเผาแต่ง
    ดินดำคล้ำคลายกลายแดง ละก้อนล้วนแกร่งกร่างไกร
    ดินดงลงบ่อหล่อเบ้า คลุกเถ้าคลึงถาดปาดไถ
    กดแท่นแป้นทับฉับไว ลงมือลงไม้ไฟรุม
    น้ำทุ่งน้ำท่ามาอาบ มานาบมานวดดินนุ่ม
    เมืองล่างเมืองบนชนชุม มือนี้ที่กรุมกรำงาน
    ปั้นดินปาดดินประดัง เป็นวังเป็นวัดพัสถาน
    ปูทางเข้าคนทนทาน บันดาลด้วยมือแรงเรา
    ๗.คำประพันธ์นี้มีน้ำเสียงอย่างไร
    ๑.ชื่นชม
    ๒.ตื่นเต้น
    ๓.ตื้นตัน
    ๔.ประทับใจ
    ๘.คำประพันธ์ในข้อใดมุ่งเสนอข้อเท็จจริง ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็น
    ก.อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่
    ข.แม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร
    ค.ใครดูถูกผู้ชำนาญในการช่าง ความคิดขวางเฉไฉไม่เข้าเรื่อง
    ง.ควรไทยเราช่วยบำรุงวิชาช่าง เครื่องสำอางแบบไทยสโมสร

    ๙.คำประพันธ์ในข้อใด อ่านแบ่งวรรคได้ถูกต้อง
    ก.สมรรถชัยไกร/กาบแก้ว
    แสงแวววับ/จับสาคร
    ข.เลียงผา/ง่าเท้าโผน
    เพียงโจน/ไปในวารี
    ค.สายัณห์/ตะวันยาม
    ขณะ/ข้ามทิฆัมพร
    ง.เรือน้อย/ลอยน้ำ/ขำคม
    บัวฉม/ชูล้อม/ห้อมเรือ
    ๑๐.คำประพันธ์ในข้อใด ไม่มีคำซ้อน
    ก.นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย
    ข.เลื้อยบ่ทำเดโช แช่มช้า
    ค.พิษน้อยหยิ่งโยโส แมลงป่อง
    ง.ชูแต่หางเองอ้า อวงอ้างฤทธิ

  18. ข้อสอบo-net
    ๑.คำประพันธ์ในข้อใดไม่แสดงความเชื่อของคนไทย
    ก.ชาตินี้มึงมีแต่สองหัตถ์ จงไปอุบัติเอาชาติใหม่
    ข.ถ้าวาสนาเราเคยบำรุงรัก ก็จะเป็นภักษ์ผลสืบไป
    ค.กรรมเวรสิ่งใดดังนี้ ทูลพลางโศกีรำพัน
    ง.จะได้รองเบื้องบาทา ไปกว่าจะสิ้นชีวี
    ๒.คำประพันธ์ในข้อใดกล่าวถึงสิ่งที่แสดงวัฒนธรรมไทย
    ก.ยาตรยาตรบาทห่อนกระชั้น ช่วงเท้าเทาเสมอ
    ข.แก้วก่องทองสลับล้วน ร่วงรุ้งเรืองรอง
    ค.แห่อยู่สองข้างเข้า คู่คล้อยเคียงไคล
    ง.บังแทรกสองคู่คล้าย สลับริ้วฉัตรเรียง
    ๓.ข้อใดเป็นเจตนาของผู้แต่งคำประพันธ์ต่อไปนี้
    อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ ประเสริฐสุดซ่อนใสเสียในฝัก
    สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย
    ก.สอนให้รู้จักเลือกใช้อาวุธและสติปัญญาให้ถูกเวลา
    ข.สอนเรื่องการใช้สติปัญญาและความรู้ให้ถูกจังหวะ
    ค.แนะนำวิธีการใช้อาวุธให้เกิดผลดีตามความปรารถนา
    ง.แนะนำวิธีการเก็บอาวุธเพื่อให้คมกริบเหมือนมีสติปัญญาอยู่เสมอ
    ๔.ข้อใดไม่ได้กล่าวถึงในคำประพันธ์ต่อไปนี้
    ชนใดมีชาติเชื้อ เลวทรามเพียรอุตส่าห์พยาพยาม
    หมั่นหมั้นอยู่บดอยู่ฝนความ รู้แก่ เกินแฮกลับยศใหญ่ยิ่งชั้น เช่นเชื้อผู้ดี
    ก.คนเราควรตั้งอยู่ในความขยันหมั่นเพียร
    ข.การแสวงหาความรู้เป็นประจำนำไปสู่ความสำเร็จ
    ค.คนนิสัยเลวอาจเปลี่ยนกลับกลายเป็นคนนิสัยดีได้
    ง.คนที่มีกำเนิดต่ำอาจพัฒนาจนเปลี่ยนสถานภาพให้สูงขี้นได้
    คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้ตอบคำถาม ข้อ ๕
    ไป่ถามปราชญ์บ่พร้อง พาทีเปรียบดั่งเภรีตี จึ่งครื้น
    คนพาลพวกอวดดี จักกล่าวถามบ่ถามมันฟื้น เฟื่องถ้อยเกินถาม
    ๕.ข้อใดเป็นจุดประสงค์ของผู้แต่ง
    ก.สอนไม่ให้เป็นคนพูดโอ้อวด
    ข.แนะให้คบนักปราชญ์ที่สงวนคำพูด
    ค.สอนมิให้เอาอย่างคนอวดดี
    ง.แนะให้เป็นผู้ฟังมากกว่าเป็นผู้พูด
    ๖.คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้ภาพพจน์กี่แห่ง
    พระนักสิทธิ์พิศดูเป็นครู่พัก หัวร่อหนักรูปร่างมันช่างขัน
    เมื่อตัวเดียวเจียวกลายเป็นหลายพันธุ์ กำลังมันมากนักเหมือนยักษ์มาร
    เขี้ยวเป็นเพชรเกล็ดเป็นนิลลิ้นเป็นปาน ถึงเอาขวานฟันฟาดไม่ขาดรอน
    ก.๑ แห่ง
    ข.๒ แห่ง
    ค.๓ แห่ง
    ง.๔แห่ง

    คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อ ๗
    หอมไฟไหม้ดินกลิ่นอิฐ เรียงติดลงเตาเผาแต่ง
    ดินดำคล้ำคลายกลายแดง ละก้อนล้วนแกร่งกร่างไกร
    ดินดงลงบ่อหล่อเบ้า คลุกเถ้าคลึงถาดปาดไถ
    กดแท่นแป้นทับฉับไว ลงมือลงไม้ไฟรุม
    น้ำทุ่งน้ำท่ามาอาบ มานาบมานวดดินนุ่ม
    เมืองล่างเมืองบนชนชุม มือนี้ที่กรุมกรำงาน
    ปั้นดินปาดดินประดัง เป็นวังเป็นวัดพัสถาน
    ปูทางเข้าคนทนทาน บันดาลด้วยมือแรงเรา
    ๗.คำประพันธ์นี้มีน้ำเสียงอย่างไร
    ๑.ชื่นชม
    ๒.ตื่นเต้น
    ๓.ตื้นตัน
    ๔.ประทับใจ
    ๘.คำประพันธ์ในข้อใดมุ่งเสนอข้อเท็จจริง ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็น
    ก.อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่
    ข.แม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร
    ค.ใครดูถูกผู้ชำนาญในการช่าง ความคิดขวางเฉไฉไม่เข้าเรื่อง
    ง.ควรไทยเราช่วยบำรุงวิชาช่าง เครื่องสำอางแบบไทยสโมสร

    ๙.คำประพันธ์ในข้อใด อ่านแบ่งวรรคได้ถูกต้อง
    ก.สมรรถชัยไกร/กาบแก้ว
    แสงแวววับ/จับสาคร
    ข.เลียงผา/ง่าเท้าโผน
    เพียงโจน/ไปในวารี
    ค.สายัณห์/ตะวันยาม
    ขณะ/ข้ามทิฆัมพร
    ง.เรือน้อย/ลอยน้ำ/ขำคม
    บัวฉม/ชูล้อม/ห้อมเรือ
    ๑๐.คำประพันธ์ในข้อใด ไม่มีคำซ้อน
    ก.นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย
    ข.เลื้อยบ่ทำเดโช แช่มช้า
    ค.พิษน้อยหยิ่งโยโส แมลงป่อง
    ง.ชูแต่หางเองอ้า อวดอ้างฤทธี

  19. ข้อสอบ o-net
    ๑.ข้อใดไม่มีคำซ้อน
    ก. กรอดอกกรอด้าย เป็นลายแดงเหลือง สีหม่นสีเมือง ศรีเวียงเชียงคำ
    ข.ประดับเกล็ดดาว บนผืนผ้าดำ สีเลื่อมสีล้ำ เป็นริ้วเป็นลาย
    ค.เหยียบกี่ยกก้าว ค่อยสาวเรียงเส้น กระดกยกเต้น ยกเส้นยกสาย
    ง.เป็นมุกมิ่งแก้ว เป็นเกาะกระจาย เป็นเชิงเป็นชาย ให้ชื่นให้ชม
    ๒.ข้อใดมีคำซ้อน
    ก.ดินดงลงบ่อหล่อเบ้า
    ข.คลุกเถ้าคลึงถาดปาดไถ
    ค.กดแท่นแป้นทับฉับไว
    ง.ลงมือลงไม้ไฟรุม
    ๓.ข้อใดเป็นคำซ้อนที่สร้างจากคำซึ่งมีความหมายเหมือนกัน
    ก. การงาน กาลเวลา
    ข. จัดเจน เร่งรัด
    ค. แทนที่ รอคอย
    ง. หล่อหลอม ดอกเบี้ย

    ๔. คำประพันธ์ข้อใดไม่มีคำซ้อน
    ก. นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย
    ข. เลื้อยบ่ทำเดโช แช่มช้า
    ค. พิษน้อยหยิ่งโยโส แมลงป่อง
    ง. ชูแต่หางเองอ้า อวดอ้างฤทธี
    ๕. ข้อใดเป็นคำซ้อนทุกคำ
    ก. ซ้ำซ้อน ซ่อนรูป ซักฟอก
    ข.ถ่องแท้ ถี่ถ้วน ถากถาง
    ค. บีบคั้น เบียดเบียน เบาความ
    ง. แปรผัน เป่าหู โปรยปราย
    ๖. ข้อความต่อไปนี้มีคำซ้อนกี่คำ
    “ ข้าวเป็นธัญญาหารที่มีประโยชน์อยู่ทุกอณูของเมล็ดข้าว เนื้อข้าว รำข้าว
    และจมูกข้าว เราจึงควรกินข้าวให้ครบทุกส่วนของเมล็ด เพื่อชีวิตที่แข็งแรง
    สดใส ห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ และมีสุขภาพดีอายุยืนนาน
    ก. ๓ คำ
    ข. ๔ คำ
    ค. ๕ คำ
    ง. ๖ คำ
    ๗.ข้อใดใช้คำซ้อนถูกต้อง
    ก. แม่เร่งรัดให้ลูกแต่งตัวเร็ว ๆ เพราะวันนี้ลูกตื่นสาย
    ข. พรุ่งนี้เช้าหัวหน้าทัวร์จะนำพาลูกทัวร์สู่จังหวัดกาญจนบุรี
    ค. หน้าหนาวอากาศบนยอดดอยเย็นเยือก จับขั้วหัวใจ
    ง. ฝีมือในการทำอาหารของร้านนี้ตกต่ำ ลูกค้าจึงลดลงอย่างมาก

    ๘. คำซ้อนใดที่เป็นคำไทยทั้งหมด
    ก. เงียบสงบ
    ข. อุดมสมบูรณ์
    ค. อ้วนพี
    ง. รูปทรง
    ๙. คำซ้อนใดที่เป็นคำภาษาต่างประเทศทั้งหมด
    ก. ชุกชุม
    ข. แบบฉบับ
    ค. ผีสาง
    ง. มิตรสหาย
    ๑๐. ข้อใดเป็นคำซ้อนที่มีความหมายตรงข้ามกัน
    ก. กัก + ขัง
    ข. แพ้ + ชนะ
    ค. บ้าน + เรือน
    ง. กู้ + ยืม

ใส่ความเห็น