ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3/2

สำหรับนักเรียนชั้นม.3/2

  1. เด็กชายสรรเพ็ชญ์ สังข์บัว

    เรื่อง กาพย์ยานี 11
    1. ข้อใดมีจำนวนพยางค์เท่ากับวรรคแรกและวรรคที่ 3 ของกาพย์ยานี ๑๑
    ก. ยามเช้าภูกระดึง
    ข. เสหน่ห์ซึ้งห้วงหทัย
    ค. .เมฆหมอกยั่วหยอกไม้ไหว
    ง.อยากฝันใฝ่ไปทุกเยี่ยมเยียน
    2. ข้อใดมีจำนวนพยางค์เท่ากับวรรคที่ 2 และ 4 ของกาพย์ยานี ๑๑
    ก. ท้องฟ้าทะเลสีคราม
    ข. หาดงามยามเย็นย่ำ
    ค. ถิ่นใดไหนงดงาม
    ง. ข้ามฝั่งยังทะเล
    3. ข้อใดเติมในช่องว่างต่อไปนี้ได้ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด
    งามไม้ดอกออกช่อ ……………?……………
    น้ำหวานซ่านอารมณ์ คอยยั่วเย้าเฝ้าเวียนวน
    ก. ผีเสื้อคอยเคลียคลอ
    ข. หลากสีมีหลายกอ
    ค. ภมรบินหามาเล่นล้อ
    ง. ผีเสื้อล้อเล่นดอม
    4. ข้อใดเติมในช่องว่างต่อไปนี้ได้ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด
    ชวนเชิญเยาวชน ร่วมฝึกฝนภาษาไทย
    ………..?……………. ว่าเราไซร้เอกราช
    ก. พวกเราเป็นเด็กไทย
    ข. ทุกทุกวัยสะกดคำ
    ค. วัฒนธรรมชี้นำได้
    ง. จำใส่ใจไว้พวกเรา
    5. ข้อใดเหมาะในการเติมในวรรคที่ ๒ ของกาพย์ต่อไปนี้มากที่สุด
    น้ำตกสามห้าเจ็ด …………..?…………….
    บ้านส้องลองสอบถาม อยู่เขตคามปักษ์ใต้เรา
    ก. ใกล้เคียงเขาท่าเพ็ชร
    ข. แต่ก่อนเป็นเหมืองเพชร
    ค. เดินไปจนเข่าเข็ด
    ง. เปรียบดังเพชรของป่างาม

    6. เติมคำตอบใดจึงจะได้กาพย์ยานี 11 ที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด
    ไม้เรียวเจียวนะหนู เมื่อคุณครูสอนไม่จำ
    ไม้เรียวเชียวคอยย้ำ เข็มทิศนำให้หนูดี
    …………?…….. ………?…………..
    จงรู้คราครูตี ครูก็ปวดรวดร้าวใจ
    ก. เฟี้ยวเฟี้ยวเสียวหัวใจ ฟาดทีไรน้ำตาปรี่
    ข. หนูรู้ว่าครูตี ฟาดทุกทีเพราะหวังดี
    ค. รู้ไหมว่าหนูนี้ เจ็บเหลือที่ครูตีมา
    ง. ควั่บควั่บจับฤดี แต่ละทีที่ฟาดมา
    7. คำตอบใดเหมาะสมที่สุดสำหรับการเติมในวรรคที่ ๒
    เขื่อนรัชชประภา ……..?……………
    สบายด้วยสายลม พัดเอื่อยมาพาเบิกเบิน
    ก. ความสวยงามจับตา
    ข. งามจับตาเมื่อคราชม
    ค. ศาลานั้นสวยงาม
    ง. ทุกคนต่างอยากมา

    8. บิดาและมารดร เฝ้าอาวรณ์ห่วงใยเรา
    ………….?………… ………..?…………….
    …………….?…….. ………….?……………..
    แล้วไยเราใจร้าย มาแหนงหน่ายหนีการเรียน
    ก. ไม่เหมือนคนอื่นเขา คอยจับเจ่าแต่พวกเรา
    ทุกครั้งท่านขัดเกลา เพื่อพวกเราสุขสบาย
    ข. เหนื่อยยากมานานเนา เพื่อให้ลูกสุขสบาย
    ท่านหวังให้เราเรียน การอ่านเขียนเร่งขวนขวาย
    ค. ท่านรักและเอ็นดู คอยอุ้มชูมิจากไกล
    ท่านคอยเอาใจใส่ คอยห่วงใยอยู่ทุกครา
    ง. ฉะนั้นต้องรักเขา คอยบรรเทาเมื่อเจ็บกาย
    ยามว่างไปเยี่ยมกราย เมื่อท่านหายคอยดูแล
    9. คำตอบใดเหมาะสมที่สุดสำหรับการเติมในวรรคที่ ๒
    แสงทองส่องทาทาบ ………?………..
    บ้านดอนมีของดี คือที่นี่เกาะลำพู
    ก. ดุจฟ้าฉาบรัศมี
    ข. บนเกาะมีพื้นราบ
    ค. บนเกาะงามวูบวาบ
    ง. รัศมีเป็นสีทอง
    10. คำตอบใดเหมาะสมที่สุดสำหรับการเติมในวรรคที่ ๑
    …………?…………. แต่งหินหรูดูแข็งแกร่ง
    หวังเพียงชนทุกแหล่ง ได้พักกายคลายเหนื่อยล้า
    ก. อบต.คนท้องถิ่น
    ข. ลำพูลงทุนแพง
    ค. ลานหินถิ่นลำพู
    ง. ลำพูอยู่ใกล้ใกล้

  2. สุดารัตน์ คงแก้ว

    แบบทดสอบวิชารายงานวิชาการ
    1. ข้อใดคือรายงานวิชาการ
    a การเขียนเรียงความ
    b การเรียบเรียงความคิดแล้วนำเสนอโดยการเขียน
    c การเรียบเรียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นแบบแผน
    d การตัดต่อข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
    2. ส่วนประกอบของรายงานวิชาการแบ่งออกเป็นกี่ส่วน
    a 2ส่วน
    b 3ส่วน
    c 4ส่วน
    d 5ส่วน
    3. ส่วนประกอบรายงานข้อใดจัดอยู่ในส่วนต้น
    a ปกใน เนื้อเรื่อง
    b ปกนอก ภาคผนวก
    c ปกนอก สารบัญ
    d บรรณานุกรม ปกใน
    4. ข้อใดกล่าวผิด
    a เนื้อหารายงานจัดอยู่ในส่วนกลางของรายงาน
    b บรรณานุกรมคือหนังสืออ้างอิง
    c หน้าสารบัญต้องใส่ไว้ก่อนหน้าคำนำ
    d คำนำกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการเขียนรายงาน
    5. ข้อใดเรียงลำดับส่วนประกอบของรายงานได้ถูกต้อง
    a ปกนอก ปกใน คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง บรรณานุกรม ภาคผนวก
    b ปกนอก คำนำ ปกใน สารบัญ เนื้อเรื่อง บรรณานุกรม ภาคผนวก
    c ปกนอก ปกใน สารบัญ คำนำ เนื่อเรื่อง ภาคผนวก บรรณานุกรม
    d ปกนอก ปกใน สารบัญ คำนำ เนื้อเรื่อง บรรณานุกรม ภาคผนวก
    6. ข้อใดไม่ใช่หลักการเลือกเรื่องในการเขียนรายงาน
    a เลือกเรื่องที่อาจารย์มอบหมายให้ทำ
    b เลือกเรื่องที่น่าสนใจในขณะนั้น
    c เลือกเรื่องที่เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่ได้รับมอบหมาย
    d เลือกเรื่องที่หาข้อมูลยากๆ
    7. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนการเขียนรายงานวิชาการ
    a การเลือกเรื่อง
    b การค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล
    c กำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง
    d เป็นขั้นตอนการเขียนรายงานวิชาการทุกข้อ
    8. เมื่อเลือกเรื่องที่เหมาะสมได้แล้วขั้นตอนต่อไปควรทำตามข้อใด
    a การค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล
    b กำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง
    c การเรียบเรียงรายงาน
    d ไม่มีข้อถูก
    9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกเกี่ยวกับข้อมูลที่นำมาเรียบเรียงรายงาน
    a ข้อมูลจากเอกสารได้แก่ หนังสือ ตำรา
    b ข้อมูลสนามคือ ข้อมูลจากการสังเกต การสนทนา
    c ข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นข้อมูลจากเอกสาร
    d ข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นข้อมูลสนาม
    10. ข้อใดกล่าวไม่ถูกเกี่ยวกับการเรียบเรียงรายงาน
    a สำคัญที่สุดคือต้องคัดลอกผลงานผู้อื่นมาเรียงต่อกัน
    b เรียบเรียงข้อมูลตามโครงเรื่องที่กำหนดไว้
    c เมื่อจำเป็นต้องคัดลอกข้อความผู้อื่นต้องอ้างอิงให้ชัดเจน
    d การเรียบเรียงควรใช้สำนวนภาษาของตนเองให้มากที่สุด

  3. ด.ญ. นุชรี ดำเพ็ง (น้องแนนนี่)

    แนวข้อสอบ O-net
    ข้อที่ 1) คำในข้อใดมีคำตายทุกคำ
    ก. เลือก แบบ นิด
    ข. อย่า เพิ่ง เบื่อ
    ค.เกลือ ไทย ดี
    ง.ทุก สิ่ง ขาย
    ข้อที่ 2) ข้อใดเป็นคำเป็นทุกคำ
    ก.แต่ย่างย้ายทรายฝุ่นขย่นยุบ
    ข.ยิ่งเหยียบฟุบขาแข้งให้แข็งขึง
    ค.ยิ่งจวนเย็นเส้นสายให้ตายตึง
    ง.ดูเหมือนหนึ่งเหยียบโคลนให้โอนเอน
    ข้อที่ 3) คำตายมีตัวสะกดในแม่ใด
    ก. กน กม เกย
    ข.กก กน กบ
    ค.กง กน กม
    ง.กก กด กบ
    ข้อที่ 4) คำว่า แบตเตอรี่ มีตัวสะกดในแม่ใด
    ก.กน
    ข.กด
    ค.กบ
    ง.กม
    ข้อที่ 5) คำเป็นมีตัวสะกดในมาตราใด
    ก.กง กน กม เกย เกอว
    ข.กก กด กบ เกย เกอว
    ค.กง กด กบ กม กก
    ง.เกย เกอว กด กง กม
    ข้อที่ 6) คำในข้อใดเป็นคำเป็น
    ก.ยุโรป
    ข.เนตบอล
    ค.ปิกนิก
    ง.โฮเต็ล
    ข้อที่ 7) คำในข้อใดเป็นคำตาย
    ก. ก๋วยจั๊บ
    ข.ก๋วยเตี๋ยว
    ค.บัณฑิต
    ง.ไต้ก๋ง
    ข้อที่ 8) ข้อความใดมีคำตายทุกคำ
    ก.กระทะทอดนก
    ข.ปลาถูกถอดเกล็ด
    ค.เป็ดว่ายนำในสระ
    ง.มดไต่เกะกะบนขยะ
    ข้อที่ 9) ข้อใดเป็นคำเป็นทุกคำ
    ก.กระรอกไต่กิ่งไม้
    ข.แมวตะครุบหนูพุก
    ค.ช้างใช้งวงจับอ้อย
    ง.กวางน้อยวิ่งเร็วจริง
    ข้อที่ 10) ข้อความใดมีคำตายมากที่สุด
    ก. ตะวันคล้อยหน่อยหนึ่งถึงบางพระ
    ข.ดูระยะบ้านนั้นก็แน่นหนา
    ค.พอพบเรือนเพื่อนชายชื่อนายมา
    ง.เขาโอภาต้อนรับให้หลับนอน

  4. ด.ญ.อรัญญา ส่องสง

    ข้อสอบ o-net คำประสม
    ๑.ข้อใดเป็นคำประสมทุกคำ
    ก.ของขลัง ชุมชม เรือด่วน
    ข.เรียงเบอร์ ข้าวสวย มูมมาม
    ค.มือถือ เครื่องบิน รูปภาพ
    ง.แม่พิมพ์ เครื่องคิดเลข แกงไก่
    ๒.ข้อใดคือความหมายของคำประสม
    ก.คำมูลสองคำมารวมกัน
    ข.คำมูลสองคำมารวมกันแล้วเกิดใหม่
    ค.คำมูลสองคำมารวมกันแล้วเกิดใหม่แต่ยังรักษาเค้าความหมายเดิม
    ง.คำมูลสองคำมารวมกันแล้วเกิดใหม่มีความหมายแตกต่างจากความหมายเดิม
    ๓.ข้อใดเป็นคำประสมทุกคำ
    ก.ปากเปล่า อ่อนน้อม หัวแข็ง
    ข.บ้านเรือน ตาถั่ว คอหอย
    ค. ลูกฟูก ยกเลิก รถเร็ว
    ง.ทางออก รับส่ง รองพระบาท

    ๔.ข้อใดเป็นคำประระหว่างคำไทยและคำที่มาจากภาษาอื่นทั้งหมด
    ก.วันเพ็ญ หักหลัง ตายใจ
    ข.ใจบุญ เข็มทิศ พวงหรีด
    ค.เรือรบ แม่น้ำ พ่อคุณ
    ง.รูปพรรณ ทรัพย์สมบัติ อิทธิฤทธิ์
    ๕.คำประสมข้อใดมีความหมายโดยนัย
    ก.ใจหิน ข.ใจคอ
    ค.เดือดร้อน ค.ใจเสีย
    ๖.ข้อใดมีคำประสม ๒ คำ
    ก.ลูกเสือกองนี้ไปน้ำตกสาลิกา
    ข. วินัยชอบช้อนลูกน้ำให้ปลากิน
    ค.คุณพิมพ์นามบัตรมาจากไหน
    ง.สุภาษิตโบราณว่า น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ
    ๗.คำที่ขีดเส้นใต้คำใดไม่ใช่คำประสม
    ก.แกงร้อนต้องกินกำลังร้อน
    ข.อย่าหาเรื่องร้อนใจอีกเลย
    ค.อากาศร้อนใครๆก็อารมณ์ไม่ดี
    ง.อย่าเพิ่งใจร้อนรอสักครู่ก็เรียบร้อย

    ๘.คำที่ขีดเส้นใต้คำใดเป็นคำประสม
    ก.ผมไม่ชอบเล่นพวก
    ข.เขาเล่นตานี้เป็นตาสุดท้าย
    ค.เก่งชอบเล่นไฟป๊อก
    ง.อย่าไปเล่นกับมันนะ
    ๙.ข้อใดมีคำประสมทุกคำ
    ก.น้ำตา น้ำตก นาฬิกา
    ข.ลมพัด น้ำมาก มะละกอ
    ค.น้ำแรง น้ำน้อย กระถาง
    ง.น้ำลาย น้ำไหล น้ำนม
    ๑0 . คำว่า เสื้อคลุม คำใดเป็นคำประสม
    ก.ฉันชอบเสื้อคลุมตัวนั้นมาก
    ข.เอาเสื้อคลุมอะไรไว้มองไม่ถนัด
    ค.ใครเอาเสื้อคลุมกล่องกระดาษไว้
    ง.เอาเสื้อคลุมศีรษะน้องด้วยฝนตกแล้ว

  5. ด.ญ.พัชรี ลิ่มเจริญ

    คำบาลี สันสกฤต
    ข้อที่ 1)
    สระในข้อใดมีใช้แต่ในภาษาสันสกฤต
    ก.อะ – อา
    ข. อิ – อี
    ค. อุ – อู
    ง. ไอ – เอา

    ข้อที่ 2)
    พยัญชนะในข้อใดมีใช้แต่ในภาษาสันสกฤต
    ก. ก – ข
    ข. จ – ฉ
    ค. ต – ถ
    ง. ศ – ษ

    ข้อที่ 3)
    คำในข้อใดเป็นคำที่ไทยรับมาจากภาษาบาลี
    ก.เบญจะ
    ข.ไพฑูรย์
    ค. ไมตรี
    ง.ไศล

    ข้อที่ 4)
    คำในข้อใดเป็นคำที่ไทยรับมาจากภาษาสันสกฤต
    ก. พิศวาส
    ข. ประดิษฐ์
    ค.. บุปผา
    ง. อธิษฐาน

    ข้อที่ 5)
    ภาษาสันสกฤตว่า “ทฤษฎี” ภาษาบาลีว่าอย่างไร
    ก. กีฬา – กรีฑา
    ข. เขต – เกศ
    ค. จุฬา – จุฑา
    ง. ครุฬ – ครุฑ

    ข้อที่ 6)
    คำที่ไทยเรารับมาจากภาษาบาลีกับสันสกฤต คู่ใดไม่ถูกต้อง
    ก. ถาวร – เสถียร
    ข. กัป – กัลป์
    ค.ปกติ – ปรกติ
    ง. ดัชนี – ดรรชนี

    ข้อที่ 7)
    คำในข้อใดเป็นคำที่ไทยรับมาจากภาษาบาลี
    ก. บรรยงค์
    ข. กัญญา
    ค. มิตร
    ง. อาชญา

    ข้อที่ 8)
    คำในข้อใดเป็นคำที่ไทยรับมาจากภาษาสันสกฤต
    ก. ปรัชญา
    ข. อัคคี
    ค. มัชฌิม
    ง. รัชกาล

    ข้อที่ 9)
    ภาษาบาลี “มัจฉา” ภาษาสันสกฤตว่าอย่างไร
    ก. มารษา
    ข.มิศยา
    ค.มัสยา
    ง. มัสตยา

    ข้อที่ 10)
    คำในข้อใดเป็นคำที่ไทยรับมาจากภาษาสันสกฤต
    ก. อัสสาสะ
    ข. อุกกาบาต
    ค. รักษา
    ง.พุทธ

  6. ด.ญ.สุวรรณี ขำเนี่ยว

    ข้อสอบ o-net
    อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ ๑-๒
    “คอมพิวเตอร์มีขอบเขตการใช้งานที่กว้างขวางโดยเริ่มต้นจากการให้ความบันเทิงด้วยการเล่น ทำให้พ่อแม่และลูกๆหาความเพลิดเพลินด้วยการอยู่หน้าจอภาพคอมพิวเตอร์จะช่วยเสริมทักษะให้กับเด็กๆในวัยเรียนด้วยโปรแกรมเพื่อการศึกษา ซึ่งมีจำหน่ายอย่างแพร่หลายจะทำให้เด็กมีความสนใจกับการเรียนดีขึ้น”
    ๑. ข้อความนี้เป็นลักษณะใด
    ก. คำแนะนำ
    ข. ข้อเท็จจริง
    ค. คำโฆษณา
    ง.คำเชิญชวน
    ๒. ประโยคใจความสำคัญของข้อความนี้ คือข้อใด
    ก. คอมพิวเตอร์มีขอบเขตการใช้งานที่กว้างขวาง
    ข. โดยเริ่มต้นจากการให้ความบันเทิงด้วยการเล่น
    ค. พ่อแม่และลูกๆ หาความเพลิดเพลินด้วยการอยู่หน้าจอภาพ
    ง. คอมพิวเตอร์จะช่วยเสริมทักษะให้กับเด็กๆในวัยเรียนด้วยโปรแกรมเพื่อการศึกษา

    อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ ๓-๕
    “น้ำเอ๋ยน้ำใจ
    แม้แล้งในดวงจิตมิตรหลีกหนี
    ญาติพี่น้องเหินห่างร้างไมตรี
    ไม่มีใครไปมาหาสู่ตน
    อันน้ำใจปลูกไมตรีได้ดีนัก
    สร้างความรัก สร้างความสุขทุกแห่งหน
    เพียงน้ำใจหยดน้อยร้อยกมล
    ให้ทุกคนรักมั่นนิรันดร์เอย”
    ๓. ผู้เขียนมุ่งสอนใคร
    ก. เด็กเล็ก
    ข. เด็กวัยรุ่น
    ค. คนทั่วไป
    ง. ผู้อ่านผู้ฟัง
    ๔. สิ่งที่สร้างความสุขให้กับสังคมทั่วไปคืออะไร
    ก. รูปร่างหน้าตา
    ข. ทรัพย์สมบัติ
    ค. น้ำใจไมตรี
    ง. ญาติมิตรเพื่อนพ้อง

    ๕. โทษของการแล้งน้ำใจคือข้อใด
    ก. จิตใจหดหู่ห่อเหี่ยว
    ข. ไม่มีใครปามหาสู่
    ค. ไม่มีญาติพี่น้อง
    ง. อดอยากยากจน
    อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ ๖-๗
    “สถานที่พักผ่อนในหน้าร้อนนั้นที่เหมาะสมก็ตามแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้ๆน้ำ ไม่ว่าจะเป็นหาดทราย ชายทะเล ทะเลสาบเหนือเขื่อน เรือนแพริมแม่น้ำหรือป่าเขาที่มีน้ำตกซึ่งมีอยู่มากมายกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งคุณๆที่กำหนดการเดินทางไปพักผ่อนกันแล้วควรมีการจองที่พักและการเดินทางล่วงหน้าแต่เนิ่นๆจะได้ไม่ต้องเบียดเสียดยัดเยียดกับกลุ่มอื่น”
    ๖. ข้อความนี้ควรจะตั้งชื่อเรื่องว่าอะไร
    ก. ท่องเที่ยวไปในสยาม
    ข. การเดินทางท่องเที่ยว
    ค. สถานที่พักผ่อนสำคัญๆ
    ง. การเลือกแหล่งท่องเที่ยว
    ๗. การเลือกสถานที่ใกล้น้ำนั้นเพื่อความมุ่งหมายข้อใด
    ก. ต้องการไอเย็นจากน้ำ
    ข. มีโอกาสอาบน้ำบ่อยๆ
    ค. มีน้ำบริโภคอย่างสะดวกสบาย
    ง. ต้องการแหล่งครึกครื้นไม่เงียบเหงา

    อ่านคำประพันธ์ต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ ๘-๑๐
    “แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
    ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
    มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน บิดามารดารักมักเป็นผล
    ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา
    แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
    รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี”

    ๘. ความรักที่แท้จริงนั้นน่าจะได้จากใครมากที่สุด
    ก. พ่อแม่
    ข. พี่น้อง
    ค. ครูอาจารย์
    ง. เพื่อนๆ
    ๙. ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่การตน กลอนวรรคนี้หมายความว่าอย่างไร
    ก. การพึ่งผู้อื่น
    ข. การพึ่งตนเอง
    ค. การให้ที่พึ่งทางกาย
    ง. การให้ที่พึ่งแก่ผู้อื่น

    ๑๐. นักเรียนคิดว่าควรจะนำคำสอนในข้อใดของกลอนบทนี้ไปปฏิบัติตนเกี่ยวกับเรื่องการพูด
    ก. ควรพูดก่อนคิดทุกครั้ง
    ข. ควรพูดจาสุภาพอ่อนหวาน
    ค. ควรคิดให้รอบคอบก่อนพูด
    ง. ควรหลีกเลี่ยงการพูดที่จะทำให้ผู้ฟังโกรธ

  7. ศุภชัย ขำกิ้ม

    1 ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อเสียงทุกคำ
    1. หนุงหนิง เหนอะหนะ ซ่อนเร้น
    2. กะรุ่งกะริ่ง กระวีกระวาด หลุกหลิก
    3. เกะกะ ทุกที อบรม
    4. ทิ้งขว้าง ดูแล เลี้ยงดู
    2. ข้อใดเป็นคำซ้อนที่มีความหมายตรงกันข้าม
    1. ดอกดวง
    2. เท็จจริง
    3. ค่ำคืน\
    4. ซอกซอย
    3 .ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อเสียง
    1. กระโดดโลดเต้น
    2. กระชุ่มกระชวย
    3. วัดวาอาราม
    4. บ้านนอกคอกนา
    4. ข้อใดไม่ใช่คำซ้อนเพื่อความหมาย
    1. คัดเลือก
    2. กว้างขวาง
    3. ฝึกหัด
    4. เลือกสรร
    5. ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อความหมายทุกคำ
    1. หยาบคาย ขัดถู เดือดร้อน
    2. ลุกลน ซุกซน หนทาง
    3. เยาะเย้ย ถากถาง ถดถอย
    4. ยอกย้อน เร่อร่า ระราน
    6.คำในข้อใดเป็นคำซ้อนทุกคำ
    1 .ชักชวน ชักนำ ชักใย
    2 ติดขัด ติดลม ติดตาม
    3 . มืดค่ำ มืดมัว มืดหน้า
    4.ดื้อดัน ดื้อรั้น ดื้อดดึง
    7.คำในข้อใดเป็นคำซ้อนทุกคำ
    1.ตัดรอน ตัดขาด ตัดสิน
    2.ขัดขืน ขัดข้อง ขัดคอ
    3.กักกัน กักขัง กักตุน
    4 .ล้มเลิก ล้มลุก ล้มละลาย
    8.คำทุกคำในข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อเสียง
    1.รุ่งริ่ง รกร้าง รุงรัง
    2.บากบั่น บอบบาง บิดเบือน
    3.ทอดทิ้ง ทาบทาม ทอดถอน
    4.กรอบแกรบ กรีดกราด กระดากกระเดื่อง

    9.ข้อใดทุกคำเป็นคำซ้อน
    1.น้ำท่า เสือสาง เชื้อเชิญ
    2.มืดมน ต้อนรับ สระสรวง
    3.แปดเปื้อน ข่มเหง ปล่อยปละ
    4.ปลอมปน ขยะแขยง เครียด แค้น
    10. ข้อใดเป็นคำซ้อน 2 คำ
    1. มะละกอ ว่ากล่าว เสียใจ
    2. สมสู่ ยินดี สีกหรอ
    3.โหวกเหวก นึกคิด เงียบเหง
    4. ชาวบ้าน ดีใจ รอมชอบ

  8. ด.ญ.จารุพรรณ หวังดี

    แนวข้อสอบ o-net
    ๑.“โดยธรรมชาติ เมื่ออายุมากขึ้น อวัยวะต่างๆ ย่อมเสื่อมไป พลอยทำให้ความคิดความอ่านเชื่องช้าไปด้วย ปัญหานี้ นักวิทยาศาสตร์สนใจและค้นคว้าหาวิธีป้องกันเสมอ”
    ข้อความข้างต้นมีคำนามกี่คำ
    ก.5 คำ ข. 6 คำ
    ค.7 คำ ง. 8 คำ
    ๒.จากข้อความในข้อที่ 1 มีคำนามชนิดใดบ้าง
    ก.นามทั่วไป,นามชื่อเฉพาะ ข. นามทั่วไป,นามบอกอาการ
    ค. นามทั่วไป,นามรวมหมู่ ง. นามทั่วไป,นามบอกลักษณะ

    ๓. “การทำน้ำเกลือใช้เองยามป่วยฉุกเฉินง่ายมาก เพียงใช้เกลือป่นครึ่งช้อนชา น้ำตาลสองช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำต้มสุกหนึ่งขวดน้ำปลา” ข้อความนี้มีคำนามบอกลักษณะกี่คำ
    ก. 1 คำ ข. 2 คำ ค. 3 คำ ง. 4 คำ

    ๔. ข้อใดมีคำนามธรรม
    ก. สมเด็จพระเจ้าราชาธิราชให้ทหารไปดูรอที่ท้ายน้ำ
    ข. ทหารกลับมากราบทูลว่ามีรอปักอยู่ท้ายน้ำจริง
    ค. พระเจ้าราชาธิราชตรัสสรรเสริญมะกลอมว่ามีปัญญา
    ง. พระเจ้าราชาธิราชตรัสถามมะกลอมว่าจะทำประการใด

    ๕. ข้อใดมีคำนามรวมหมู่ (นามบอกหมวดหมู่)
    ก. หมู่นี้ข้าพเจ้ามีคนไข้มาก
    ข. ที่นี่มีหมู่ชาวเขมรอพยพมาอยู่มาก
    ค. หมู่สมศักดิ์เป็นตำรวจที่ทำงานขยันดี
    ง. ชาวเขาปลูกบ้านอยู่กันเป็นหมู่ๆ บริเวณเชิงเขา
    ๖. ข้อใดใช้คำนามบอกลักษณะถูกต้อง
    ก. ปากกาแท่งนี้มีสีสวย
    ข. ไข้ไก่ใบนี้ราคาเท่าไรคะ
    ค. ผ้าพิมพ์แผ่นนี้ใช้ลวดลายโบราณ
    ง. ตัวยาชนิดนี้ต้องสั่งจากต่างประเทส

    ๗. ข้อใดมีคำนามธรรม (นามบอกอาการ) ทุกคำ
    ก. การงาน การค้า การพิจารณา
    ข. การเกษตร การพิมพ์ การเพาะเลี้ยง
    ค. การผลิต การดำเนินงาน การเผยแผ่
    ง. การอุตสาหกรรม การทอ การวิจารณ์

    ๘. ข้อใดมีคำนามชื่อเฉพาะเป็นกรรมของประโยค
    ก. เชียงใหม่อยู่ภาคเหนือ
    ข. แม่ตัดต้นเฟื่องฟ้าแล้ว
    ค. ฉันชอบกินอาหารรสจัด
    ง. กุหลาบถูกตำหนิหลายครั้ง

    ๙. ประโยคข้อใดมีคำนาม 1 คำ
    ก. น้ำถ่วมภาคใต้ ข. ไม้ซุงลอยน้ำ
    ค. ชาวบ้านชอกช้ำ ง. น้ำตานองหน้า
    ๑๐. ข้อใดไม่ใช่นามบอกอาการ
    ก. การนอน,การเรียน
    ข. การเงิน,การคลัง
    ค. การค้นคว้า,การทดลอง
    ง. การออกกำลัง,การพักผ่อน

  9. ด.ญ. ปัทมา หนูช่วย

    แนวข้อสอบ O-net

    (๑) คำในข้อใดเป็นคำไทยแท้
    ก. โลก
    ข. บุญ
    ค. จักร
    ง. หลัก
    (๒) ข้อใดถูกต้อง
    ก. คำไทยแท้เท่านั้นจึงจะมีเสียงวรรณยุกต์
    ข. คำไทยแท้รับมาจาต่างประเทศมักไม่มีสียงวรรณยุกต์
    ค. คำทุกคำที่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ จึงจะมีเสียงวรรณยุกต์
    ง. คำทุกคไม่ว่าจะมีรูปวรรณยุกต์หรือไม่มีรูปวรรณยุกต์ ล้วนแต่มีเสียงวรรณยุกต์วรรณยุกต์ทั้งสิ้น
    (๓) ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคำไทยแท้
    ก. มักเป็นคำพยางค์เดียว
    ข. นิยมใช้คำควบกล้ำ
    ค. ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา
    ง. มักมีรูปวรรณยุกต์กำกับเสียง
    (๔) ข้อใดคือคำไทยแท้ที่เกิดจากการกร่อนเสียงทั้งหมด
    ก. กระโดด กระโจน กระจิบ
    ข. มะพร้าว ตะเคียน ลูกกระดุม
    ค. ตะขาบ สะดือ สะเอว
    ง. สะใภ้ ผักกระเฉด กระทำ
    (๕) ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทั้งหมด
    ก. พรุ่งนี้กอยจะเดินทาง
    ข. ข้าวผัดปูร้านนี้อร่อยมาก
    ค. ต้นไปทำบุญที่วัด
    ง. ฉันคิดถึงเธอมากๆ
    (๖) ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาไทย
    ก. มีตายายสามีภรรยาคู่หนึ่งอยู่กันมานานจนล่วงเข้าวัยชราแต่ไม่มีบุตร
    ข. วันหนึ่งตายายเดินเรือหาปลา ไปตามริมน้ำใหญ่ที่มีอาณาบริเวณถึง ๑๐ ไร่เศษ
    ค. ขณะที่ยายคัดท้ายเรือเข้าหาฝั่ง เห็นไข่จระเข้ฟองหนึ่งอยู่บนกอพงจึงเก็บมา
    ง. ตั้งใจว่าจะเอาไปฟักให้เป็นตัวเลี้ยงไว้บ้านแม่ ตาจะห้ามแต่ยายก็ไม่ฟัง
    (๗) คำในข้อใดเป็นคำไทยแท้
    ก. เหลน
    ข. สงฆ์
    ค. สุวรรณ
    ง. สถาพร

    (๘) คำไทยไม่นิยมใช่คำควบกล้ำ ยกเว้น ข้อใด
    ก. ครัว
    ข. เขลา
    ค. ครวญ
    ง. เกรง
    (๙) คำไทยแท้ในข้อใด ที่เกิดจากการเติมพยางค์หน้าคำมูล
    ก. นกกระจอก
    ข. ลูกกระดุม
    ค. กระทำ
    ง. ผักกระถิน
    (๑๐) ข้อใดเป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากการแทรกเสียงระหว่างคำทั้งหมด
    ก. มะม่วง ลูกกระดุม สะใภ้
    ข. นกกระจอก ผักกระเฉด ฉะนี้
    ค. มะปราง ผักกระถิ่น ประเดี๋ยว
    ง. นกกระจอก ลูกกระดุม ผักกระเฉด

  10. ด.ญ. ปัทมา หนูช่วย

    แนวข้อสอบ O-net

    (๑) คำในข้อใดเป็นคำไทยแท้
    ก. โลก ข. บุญ
    ค. จักร ง. หลัก
    (๒) ข้อใดถูกต้อง
    ก. คำไทยแท้เท่านั้นจึงจะมีเสียงวรรณยุกต์
    ข. คำไทยแท้รับมาจาต่างประเทศมักไม่มีสียงวรรณยุกต์
    ค. คำทุกคำที่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ จึงจะมีเสียงวรรณยุกต์
    ง. คำทุกคไม่ว่าจะมีรูปวรรณยุกต์หรือไม่มีรูปวรรณยุกต์ ล้วนแต่มีเสียงวรรณยุกต์วรรณยุกต์ทั้งสิ้น
    (๓) ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคำไทยแท้
    ก. มักเป็นคำพยางค์เดียว ข. นิยมใช้คำควบกล้ำ
    ค. ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา ง. มักมีรูปวรรณยุกต์กำกับเสียง
    (๔) ข้อใดคือคำไทยแท้ที่เกิดจากการกร่อนเสียงทั้งหมด
    ก. กระโดด กระโจน กระจิบ ข. มะพร้าว ตะเคียน ลูกกระดุม
    ค. ตะขาบ สะดือ สะเอว ง. สะใภ้ ผักกระเฉด กระทำ
    (๕) ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทั้งหมด
    ก. พรุ่งนี้กอยจะเดินทาง ข. ข้าวผัดปูร้านนี้อร่อยมาก
    ค. ต้นไปทำบุญที่วัด ง. ฉันคิดถึงเธอมากๆ
    (๖) ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาไทย
    ก. มีตายายสามีภรรยาคู่หนึ่งอยู่กันมานานจนล่วงเข้าวัยชราแต่ไม่มีบุตร
    ข. วันหนึ่งตายายเดินเรือหาปลา ไปตามริมน้ำใหญ่ที่มีอาณาบริเวณถึง ๑๐ ไร่เศษ
    ค. ขณะที่ยายคัดท้ายเรือเข้าหาฝั่ง เห็นไข่จระเข้ฟองหนึ่งอยู่บนกอพงจึงเก็บมา
    ง. ตั้งใจว่าจะเอาไปฟักให้เป็นตัวเลี้ยงไว้บ้านแม่ ตาจะห้ามแต่ยายก็ไม่ฟัง
    (๗) คำในข้อใดเป็นคำไทยแท้
    ก. เหลน ข. สงฆ์ ค. สุวรรณ ง. สถาพร

    (๘) คำไทยไม่นิยมใช่คำควบกล้ำ ยกเว้น ข้อใด
    ก. ครัว ข. เขลา ค. ครวญ ง. เกรง
    (๙) คำไทยแท้ในข้อใด ที่เกิดจากการเติมพยางค์หน้าคำมูล
    ก. นกกระจอก ข. ลูกกระดุม ค. กระทำ ง. ผักกระถิน
    (๑๐) ข้อใดเป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากการแทรกเสียงระหว่างคำทั้งหมด
    ก. มะม่วง ลูกกระดุม สะใภ้ ข. นกกระจอก ผักกระเฉด ฉะนี้
    ค. มะปราง ผักกระถิ่น ประเดี๋ยว ง. นกกระจอก ลูกกระดุม ผักกระเฉด

  11. สิทธิพงษ์ ภูทัยเจริญ

    คำสมาส
    การสร้างคำสมาสในภาษาไทยได้แบบอย่างมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต โดยนำคำบาลี-สันสกฤต ตั้งแต่สองคำมาต่อกันหรือรวมกัน
    ลักษณะของคำสมาส
    ๑. เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตเท่านั้น คำที่มาจากภาษาอื่นๆ นำมาประสมกันไม่นับเป็นคำสมาส ตัวอย่างคำสมาส
    บาลี+บาลี เช่นอัคคีภัย วาตภัย โจรภัย อริยสัจ ขัตติยมานะ อัจฉริยบุคคล
    สันสกฤต+สันสกฤต เช่น แพทยศาสตร์ วีรบุรุษ วีรสตรี สังคมวิทยา ศิลปกรรม
    บาลี+สันสกฤต, สันสกฤต+บาลี เช่น หัตถศึกษา นาฎศิลป์ สัจธรรม สามัญศึกษา
    ๒. คำที่รวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำแต่อย่างใด เช่น
    วัฒน+ธรรม = วัฒนธรรม
    สาร+คดี = สารคดี
    พิพิธ+ภัณฑ์ = พิพิธภัณฑ์
    กาฬ+ปักษ์ = กาฬปักษ์
    ทิพย+เนตร = ทิพยเนตร
    โลก+บาล = โลกบาล
    เสรี+ภาพ = เสรีภาพ
    สังฆ+นายก = สังฆนายก
    ๓. คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องต่อเนื่องกัน เช่น
    ภูมิศาสตร์ อ่านว่า พู-มิ-สาด
    เกียรติประวัติ อ่านว่า เกียด-ติ-ประ-หวัด
    เศรษฐการ อ่านว่า เสด-ถะ-กาน
    รัฐมนตรี อ่านว่า รัด-ถะ-มน-ตรี
    เกตุมาลา อ่านว่า เก-ตุ-มา-ลา
    ๔. คำที่นำมาสมาสกันแล้ว ความหมายหลักอยู่ที่คำหลัง ส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า เช่น
    ยุทธ (รบ) + ภูมิ (แผ่นดิน สนาม) = ยุทธภูมิ (สนามรบ)
    หัตถ (มือ) + กรรม (การงาน) = หัตถกรรม (งานฝีมือ)
    คุรุ (ครู) + ศาสตร์ (วิชา) = คุรุศาสตร์ (วิชาครู)
    สุนทร (งาม ไพเราะ) + พจน์ (คำกล่าว) = สุนทรพจน์ (คำกล่าวที่ไพเราะ)

    หลักการสังเกต
    ๑. คำสมาสต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น
    ๒. คำสมาสมีลักษณะคล้ายการนำคำสองคำมาวางเรียงต่อกัน เวลาอ่านจะมีเสียงสระต่อเนื่องกัน
    ๓. ไม่มีการประวิสรรชนีย์ (ะ) หรือเครื่องหมายทัณฑฆาต ( ์ )
    ๔. การเรียงคำ คำหลักจะอยู่ข้างหลัง ดังนั้นการแปลจึงแปลความหมายจากหลังมาหน้า
    ๕. คำ “พระ” ประกอบหน้าคำบาลี สันสกฤต จัดเป็นคำสมาส
    ๖. คำที่ลงท้ายด้วยคำว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา มักเป็นคำสมาส
    ข้อสอบ o-net
    ๑. ข้อใดที่เหมือนกันระหว่างคำประสมกับคำสมาส
    ก. ที่มาของคำ
    ข. การอ่านออกเสียง
    ค. การแปลความหมายของคำ
    ง. จำนวนคำที่นำมาประสมกัน

    ๒. ข้อใดไม่ใช่อ่านอย่างคำสมาส
    ก. สามีภรรยา
    ข. บุตรภรรยา
    ค. บุญฤทธิ์
    ง. อัคคีภัย
    ๓. “คำสมาส ส่วนใหญ่เรียงต้นศัพท์ไวหลังเรียงศัพท์ประกอบหรือคำขยายไว้หน้า”
    คำในข้อใดสอดคล้องกับข้อความนี้
    ก. พลความ
    ข. ทุนทรัพย์
    ค. ปฐมฤกษ์
    ง. ภูมิลำเนา
    ๔. ข้อใดอ่านอย่างคำสมาสแต่ไม่ใช่คำสมาส
    ก. ยุทธวิธี = ยุด-ทะ-วิ-ที
    ข. รสนิยม = รด-สะ-นิ-ยม
    ค. พลความ = พะ-ละ-ความ
    ง. เทพบุตร = เทบ-พะ-บุด
    ๕. ข้อใดมีคำสมาสที่สร้างมาจากคำภาษาบาลีทุกคำ
    ก. มูลศึกษา
    ข. ธรรมวัตร
    ค. วรรณคดี
    ง. สามีภรรยา
    ๖. คำสมาสคำใดมีคำว่า “และ” เพิ่มเข้ามาเพื่อแสดงความสัมพันธ์ทาง
    ความหมายที่นำมาสมาสกัน
    ก. ศาสนจักร
    ข. สมณศักดิ์
    ค. พุทธเจดีย์
    ง. สมณพราหมณ์
    ๗. คำที่ขีดเส้นใต้ข้อใดเป็นคำสมาสทุกคำ
    ก. สังคมไทยชนบทยังคงเป็นสังคมเกษตรกรรม
    ข. การสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์ทำให้ธุรกิจก้าวหน้า
    ค. ปัจจุบันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจยังไม่น่าไว้วางใจ
    ง. สุโขทัยเป็นจังหวัดที่มีโบราณสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์

    ๘. ข้อใดมีคำสมาสมากที่สุด
    ก. เด็กมัธยมศึกษามีจำนวนมากขึ้น
    ข. รัฐบาลสั่งให้ควบคุมความประพฤติของเยาวชน
    ค. ประเทศไทยมีโบราณสถานหลายแห่ง
    ง. มัจจุราชหมายถึงเจ้าแห่งความตาย
    ๙. ข้อใดไม่มีคำสมาส
    ก. คนไทยนิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก
    ข. วาตภัยหมายถึงภัยที่เกิดจากลมพายุ
    ค. ประถมศึกษาคือการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    ง. เกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของคนไทย

    ๑๐. ข้อใดเป็นการสร้างคำแบบเดียวกับคำว่า “อารยธรรม”
    ก. แพทยศาสตร์
    ข. พลเมือง
    ค. ภูมิลำเนา
    ง. ผลไม้

  12. อริสรา โกกิฬะ

    ข้อสอบ o-net
    เรื่อง การอ่านร้อยกรอง
    ๑.ร้อยกรอง หมายถึง?
    ก. บทกลอนที่แต่งขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ
    ข. คำประพันธ์ที่แต่งขึ้นตามแบบฉันทลักษณ์
    ค. ประโยคที่แต่งขึ้นตามหลักภาษา
    ง. การเรียบเรียงบทความใหม่ ให้เกิดความไพเราะน่าสนใจ
    ๒.การอ่านร้อยกรองมีกี่ชนิด
    ก. ๑ ชนิด ข. ๒ ชนิด
    ค. ๓ ชนิด ง. ๔ ชนิด
    ๓.การอ่านร้อยกรอง มีอะไรบ้าง
    ก. อ่านทำนองสามัญ อ่านทำนองเจรจา อ่านทำนองเสนาะ
    ข. อ่านทำนองสามัญ อ่านทำนองเจรจา อ่านทำนองเสนาะ อ่านทำนองสรภัญญะ
    ค. อ่านทำนองพากย์ อ่านทำนองเพลงยาว
    ง. อ่านทำนองสามัญ

    ๔.”การอ่านทำนองสามัญ” คือการอ่านแบบใด
    ก. อ่านเสียงปกติเหมือนอ่านร้อยแก้ว แต่มีจังหวะวรรคตอน มีเน้นสัมผัสและเอื้อนเสียงบ้างเล็กน้อย
    ข. อ่านมีเสียงสูง ต่ำ หนัก เบา ยาว สั้น เอื้อนเสียงและเน้นเสียงสัมผัสอย่างชัดเจนไพเราะ มีจังหวะคลื่นเสียงกังวาน เพื่อให้ผู้ฟังมีอารมณ์คล้อยตาม
    ค. อ่านมีจังหวะวรรคตอนตามแผน แต่มีสำเนียงสูง ต่ำ หนัก เบา ยาว สั้น ผวน
    ง. ทำนองที่ใช้พากย์โขน หรือละครยาว
    ๕. “การอ่านทำนองเสนาะ” คือการอ่านแบบใด
    ก. อ่านเสียงปกติเหมือนอ่านร้อยแก้ว แต่มีจังหวะวรรคตอน มีเน้นสัมผัสและเอื้อนเสียงบ้างเล็กน้อย
    ข. อ่านมีเสียงสูง ต่ำ หนัก เบา ยาว สั้น เอื้อนเสียงและเน้นเสียงสัมผัสอย่างชัดเจนไพเราะ มีจังหวะคลื่นเสียงกังวาน เพื่อให้ผู้ฟังมีอารมณ์คล้อยตาม
    ค. อ่านมีจังหวะวรรคตอนตามแผน แต่มีสำเนียงสูง ต่ำ หนัก เบา ยาว สั้น ผวน
    ง. ทำนองที่ใช้พากย์โขน หรือละครยาว
    ๖.การอ่านเสียง “ร” และ “ล” ควรอ่านแบบใด
    ก. อ่านตามใจชอบ เพราะไม่มีกฏเกณฑ์ใดๆ
    ข.อ่านออกเสียงเบาๆ ให้เสียงสลับกัน
    ค. อ่านให้ชัดเจน ให้มีเสียงออกมาเหมือนๆกัน
    ง. อ่านให้ชัดเจน อย่าให้เสียงสลับกัน
    ๗.เมื่อคำที่รับสัมผัสกัน ต้องอ่านอย่างไร
    ก. ต้องอ่านเน้นเสียงให้ชัดกว่าปกติ ถ้าเป็นสัมผัสนอกต้องทอดเสียงให้มีจังหวะยาวกว่าธรรมดา
    ข. ต้องอ่านเน้นเสียงให้ชัดกว่าปกติ ถ้าเป็นสัมผัสนอกต้องทอดเสียงให้มีจังหวะสั้นกว่าธรรมดา
    ค. ต้องอ่านเน้นเสียงให้ชัดกว่าปกติ ถ้าเป็นสัมผัสนอกต้องทอดเสียงให้มีจังหวะเท่ากับธรรมดา
    ง. ต้องอ่านให้ไพเราะขึ้น ถ้าเป็นสัมผัสนอกต้องออกเสียงควบกล้ำให้ชัดเจน
    ชายตาชายหาเจ้า ชายตาเย้ายวนวิญญาณ์
    ชายหาดดาดนาวา ชายคงคาพานุชจร
    หัวหินหัวหาดเหิน โอบอรเดินแดนสาคร
    ลุยคลื่นรื่นสมร เอวอ่อนช้อนเช่นมัจฉา
    ๘.จากบทร้อยกรองข้างต้น คืออะไร
    ก. อินทรวิเชียรฉันท์
    ข. ร่าย
    ค. กาพย์ยานี ๑๑
    ง. โคลง ๒ สุภาพ

    ครูสอนสั่งไว้ จงอย่าลืมเลือนหาย
    หมั่นน้อมคำนึง (เนืองเทอญ)
    ๙. บทร้อยกรองนี้ เรียกว่าอะไร
    ก. อินทรวิเชียรฉันท์
    ข. ร่าย
    ค. กาพย์ยานี ๑๑
    ง. โคลง ๒ สุภาพ
    ๑๐.ข้อใดไม่ใช่หลักในการอ่านบทร้อยกรอง
    ก. ต้องรู้ลักษณะบัญญัติของบทประพันธ์ที่จะอ่าน
    ข. การอ่านออกเสียงตามทำนองของการแสดงและการละเล่นนั้นๆ
    ค. เสียงวรรณยุกต์จัตวา ต้องอ่านเปิดเสียงให้สูงและดังก้อง
    ง. ห้ามเอื้อนเสียงที่คำลหุ เพราะมีเสียงสั้นและเบา

  13. สรรพงษ์ สว่างพงศ์

    ข้อสอบ O – net (คำมูล)

    ๑. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับคำมูล
    ก. คำไทยแท้ทุกคำเป็นคำมูลพยางค์เดียว
    ข. คำมูลอาจเป็นคำมาจากภาษาอื่นก็ได้
    ค. คำมูลคือคำที่ออกเสียงหนึ่งครั้งและมีความหมาย
    ง. คำมูลที่มีหลายพยางค์เป็นคำมูลที่มาจากภาษาอื่นเท่านั้น

    ๒. ข้อใดไม่เป็นคำมูล
    ก. อิสรภาพ ลบล้าง
    ข. ประหลาด มณี
    ค. อสุรา โยธา
    ง. ยักษา เสนา

    ๓. ข้อใดเป็นคำมูลพยางค์เดียวทุกคำ
    ก. รสดีด้วยน้ำปลา
    ข. มัสมั่นแกงแก้วตา
    ค. ของสวรรค์เสวยรมย์
    ง. ดุจวาจากระบิดกระบวน

    ๔. คำมูลหลายพยางค์ข้อใดเกิดจากพยางค์ที่มีความหมายทุกคำ
    ก. ตาราง สีดำ
    ข. กะลาสี มะละกอ
    ค. นาฬิกา ชีวิต
    ง. วินาที โหระพา

    ๕. ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทั้งหมด
    ก. ใครเห็นโน้ตเพลงสายฝนของฉันบ้าง
    ข. ทางข้นดอยแม่สลองมีที่พักให้ชมวิวหลายแห่ง
    ค. วันนี้การจราจรไม่คับคั่งเพราะโรงเรียนปิดเทอมแล้ว
    ง. ไปหยุดพักกินข้าวที่ทุ่งนาริมหนองน้ำแห่งหนึ่ง

    ๖. คำในข้อใดประกอบด้วยพยางค์เปิดและพยางค์ปิด
    ก. กุมาร
    ข. เนื้อหา
    ค. เฝ้าไข้
    ง. แม่น้ำ

    ๗. คำในข้อใด ไทยรับมาจากภาษาเขมรทั้งหมด
    ก. เจริญ ตำบล กาญจน์
    ข. ตรัส พิสดาร เผอิญ
    ค. เขนย ผนวช เสด็จ
    ง. ชำนาญ สถาพร บำเพ็ญ

    ๘. ข้อใดไม่มีคำยืมมาจากภาษาเขมร
    ก. ไก่ป่าขันแจ้วอยู่แนวไพร เขี่ยคุ้ยขุยไผ่เป็นถิ่นถิ่น
    ข. พวกแตกทัพคงกลับไปกราบทูล เป็นเค้ามูลว่าเราคิดขบถ
    ค. ทั้งผัวเมียแสนอนาถเพียงขาดใจ สุดอาลัยแล้วก็กอดกันโศกา
    ง. เสียงเสือกวางกลางเนินพนมวัน ให้หวั่นหวั่นวังเวงหวาดฤทัย

    ๙. คำในข้อใดเป็นคำมูลพยางค์เดียวทุกคำ
    ก. ค่าน้ำนมแม่นี้ไม่มีอะไรเหมาะสม
    ข. อยากกลับไปซบลงที่ตรงตักแม่
    ค. จากเล็กจนโตโอ้แม่ถนอม
    ง. ปวดศีรษะก็ไปนอนพักเสียก่อนซิ

    ๑๐. ข้อใดให้ความหมายของพยางค์ถูกต้องที่สุด
    ก. พยางค์ คือเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ
    ข. พยางค์ คือเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ จะมีความหมายเสมอ
    ค. พยางค์ คือเสียงที่เปล่งออกมาครั้นหนึ่ง จะมีหรือไม่มีความหมายก็ได้
    ง. พยางค์เกิดจากเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ประสมกัน

ใส่ความเห็น