ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/2

สำหรับนร.6/2

  1. น.ส.กัลยาณี อาญาเสน

    1.เสียงคำท้ายวรรคของวรรคส่งควรเป็นเสียงใด
    ก. เสียงจัตวา
    ข. เสียงสามัญ
    ค. เสียงตรี
    ง. เสียงเอก
    2. การสัมผัสระหว่างวรรคควรเป็นการสัมผัสแบบใด
    ก. สัมผัสอักษร
    ข. สัมผัสอักษรและสระ
    ค. สัมผัสสระ
    ง. สัมผัสเชื่อมโยง
    3. การสัมผัสภายในวรรคควรเป็นการสัมผัสแบบใด
    ก. สัมผัสสระ
    ข. สัมผัสอักษร
    ค. สัมผัสอักษรและสัมผัสสระ
    ง. สัมผัสอักษรและสัมผัสเชื่อมโยง
    4.กวีที่มีชื่อเสียงในด้านการแต่งกลอนในสมัยรัชกาลที่ ๒ คือใคร
    ก. พระอักษรสุนทร
    ข. พระศรีสุนทรโวหาร (น้อย)
    ค. เจ้าพระยาพระคลังหน
    ง. พระสุนทรโวหาร (ภู่)
    5. เพลงพวงมาลัยเป็นกลอนประเภทใด
    ก. กลอนลำนำ
    ข. กลอนเพลงปฏิพากษ์
    ค. กลอนสุภาพ
    ง. กลอนร้อง
    6. กลอนนิทานเป็นกลอนประเภทใด
    ก. กลอนสุภาพ
    ข. กลอนตลาด
    ค. กลอนลำนำ
    ง. กลอนปฏิพากษ์
    7. ข้อใดเป็นการขึ้นต้นบทกลอนด้วยคำสุภาษิต
    ก. ” ขิงก็ราข่าก็แรงต่างแข็งข้อ”
    ข. ” มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน
    ค. ” นรกและสวรรค์มีอยู่ที่ไหน
    ง. “คุณพี่ขาหน้าร้อนตอนนี้แย่
    8. คณะของกลอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
    ก. จำนวนคำ สัมผัส บท
    ข. วรรค บาท บท คำ
    ค. สัมผัส คำ บาท
    ง. วรรค บท คำ สัมผัส
    9.สันนิษฐานว่ากลอนมีมาตั้งแต่สมัยใด
    ก. กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    ข. กรุงรัตนโกสินทร์ตอนปลาย
    ค. กรุงศรีอยุธา
    ง. กรุงธนบุรี
    10. เสียงคำท้ายวรรคใดไม่นิยมเสียงสามัญุทั้ง ๒ วรรค
    ก.วรรครับ วรรครอง
    ข. วรรครอง วรรครับ
    ค. วรรคสดับ วรรคส่ง
    ง. วรรคสดับ วรรครอง

  2. น.ส.เนตรนภา ไมตรีแก้ว

    ๑. ข้อใดเป็นประโยคความเดียว
    ๑. เครื่องปั้นดินเผาก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก คือ เครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียง
    ๒.เครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียงส่วนใหญ่เป็นหม้อลายเขียนสีรูปวงกลมม้วนคล้ายลายก้นหอย
    ๓.หลักฐานทางโบราณคดีแสดงว่าบ้านเชียงเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    ๔.คณะกรรมการมรดกโลกประกาศให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นมรดกโลก เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕

    ๒.ข้อใดไม่ใช่ประโยคความซ้อน
    ๑.คนไทยนิยมทำอาหารตามฤดูกาลซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติ
    ๒.ปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว อากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้คนเป็นหวัด
    ๓.เย็นนี้แม่บ้านจะทำแกงส้มดอกแคและผัดผักรวม
    ๔.เชื่อกันว่าการรับประทานแกงร้อนๆจะช่วยแก้ไข้หวัดในระยะเปลี่ยนฤดูได้

    ๓.ข้อใดไม่ใช่ประโยค
    ๑.การดำเนินงานธุรกิจหรือการประกอบอาชีพต้องมีความพอเพียง
    ๒.เศรษฐกิจพอเพียงมิได้จำกัดเฉพาะเกษตรกรหรือชาวไร่ชาวนาเท่านั้น
    ๓.เกษตรทฤษฎีใหม่เป็นระบบเศรษฐกิจที่เน้นให้เกษตรกรสามารถดูแลตัวเองได้
    ๔.การบริหารจัดการเศรษฐกิจที่ทำให้คนสามารถดูแลตัวเองให้อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน

    ๔.ข้อใดไม่เป็นประโยค
    ๑.นมแม่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ลูก
    ๒.การดื่มนมแม่ช่วยลดการติดเชื้อไวรัสในวัยเด็ก
    ๓.ปัจจุบันมีการโฆษณาให้แม่ดื่มนมวัวมากๆ โดยสื่อว่าลูกในท้องจะแข็งแรง
    ๔.แม้จะมีการรณรงค์ให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งเป็นนมที่ดีที่สุดสำหรับทารก

    ๕.ข้อใดเป็นประโยคความรวม
    ๑.ฉันก็อยากทำอะไรตามใจตัวเองบ้าง
    ๒.อะไรที่ดีๆ ก็น่าจะทำเสียก่อน
    ๓.ร้านนี้อาหารอะไรก็อร่อยทั้งนั้น
    ๔.อะไรมาก่อนเราก็กินไปพลางๆ

    ๖. ข้อความต่อไปนี้ส่วนใดเป็นประโยคต่างชนิดกับข้ออื่น
    (๑) การบริโภคอาหารทะเลมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อร่างกายคนเรา (๒) ในเนื้อปลามีกรดไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด (๓) คนที่ชอบรับประทานกุ้งส่วนมากไม่รับประทานหางและเปลือก (๔) ทั้งหางและเปลือกกุ้งเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและไคโตซาน
    ๑.ส่วนที่ ๑ ๒.ส่วนที่ ๒ ๓.ส่วนที่ ๓ ๔.ส่วนที่ ๔

    ๗.ข้อใดไม่ใช่ประโยคความเดียว
    ๑.ผลไม้เมืองหนาวหลายชนิดจะมีน้ำตาลฟรักโทสมากกว่าผลไม้เมืองร้อน
    ๒.ภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงเกิดจากการรับประทานน้ำตาลฟรักโทสมากเกินไป
    ๓.การควบคุมอาหารมีความสำคัญมากเพราะทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้อย่างรวดเร็ว
    ๔.การลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในขั้นแรกควรจะควบคุมอาหารโดยเฉพาะอาหารกลุ่มแป้ง

    ๘.ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
    ๑.ปัจจุบันระบบอินเทอร์เน็ตมีบทบาทอย่างมากทั้งในหมู่วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่
    ๒.โลกของอินเทอร์เน็ตมีสารประโยชน์ ความบันเทิง ความรู้ และการสื่อสารมากมาย
    ๓.ทุกวันนี้เราจะสังเกตเห็นว่ามีอินเทอร์เน็ตคาเฟ่แฝงอยู่ในธุรกิจหลายประเภท
    ๔.ในร้านอาหาร โรงแรม สปา ห้างสรรพสินค้า และโรงพยาบาลบางแห่งมีมุมอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ทั้งนั้น

    ๙.ข้อใดเป็นประโยคสมบูรณ์
    ๑.หัวข้อการสนทนาเรื่องความเป็นเลิศในกีฬายิมนาสติกของประเทศจีน
    ๒.การศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการพัฒนากีฬายิมนาสติก
    ๓.การแข่งขันยิมนาสติกอย่างต่อเนื่องและการสนับสนุนส่งเสริมจากรัฐ
    ๔.ประเทศจีนให้ความสำคัญกับกีฬายิมนาสติกมายาวนานต่อเนื่อง

    ๑๐.ข้อใดไม่ใช่ประโยคความรวม
    ๑.พอฝนจะตกเราก็รีบกลับบ้านทันที
    ๒.คนไทยรักสงบแต่ยามรบก็ไม่ขลาด
    ๓.ใครๆก็รู้ว่าแถวสีลมอากาศเป็นพิษ
    ๔.ประชาชนไม่ใช้สะพานลอยตำรวจจึงต้องตักเตือน

  3. นายวรชาติ ผุดผ่อง เลขที่ 5

    ตอบ คำประสม
    ของ นางสาวจุฑษทิพย์ จันทร์เมือง
    โดย นายวรชาติ ผุดผ่อง
    ข้อ 1. ตอบ ข.
    ข้อ 2. ตอบ ข.
    ข้อ 3. ตอบ ง.
    ข้อ 4. ตอบ ข.
    ข้อ 5. ตอบ ข.
    ข้อ 6. ตอบ ข.
    ข้อ 7. ตอบ ค.
    ข้อ 8. ตอบ ง.
    ข้อ 9. ตอบ ข.
    ข้อ 10. ตอบ ง.

  4. นายศิลปชัย นาวาพัสดุ

    ๑. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดยังไม่สมบูรณ์ เป็นเพียงวลีเท่านั้น
    ก. อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ
    ข. อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก
    ค. อันมนุษย์สุดดีที่ลมปาก
    ง. อันที่จริงหญิงชายในโลกนี้

    ๒. คำประสมในข้อใดที่ใช้เป็นประโยคได้ทุกคำ
    ก. โต๊ะเขียนหนังสือ ห้องอัดเสียง ม้าดีดกะโหลก
    ข. รถบดถนน พนักงานเก็บตั๋ว ฟ้าแลบ
    ค. ใบขับขี่รถยนต์ เก้าอี้โยก สมุดฉีก
    ง. ไม้แคะหู ผ้ากันเปื้อน คนกวาดถนน

    ๓. ข้อใดเป็นประโยคสมบูรณ์
    ก. หัวข้อการสนทนาเรื่องความเป็นเลิศในกีฬายิมนาสติกของประเทศจีน
    ข. การศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการพัฒนากีฬายิมนาสติก
    ค. การแข่งขันยิมนาสติกอย่างต่อเนื่องและการสนับสนุนส่งเสริมจากรัฐ
    ง. ประเทศจีนให้ความสำคัญกับกีฬายิมนาสติกมายาวนานต่อเนื่อง

    ๔. ข้อใดใช้ภาษากำกวม
    ก. ผู้ป่วยถูกย้ายไปจากห้องพิเศษ
    ข. เจ้าหน้าที่เข็นรถคนไข้ออกไปแล้ว
    ค. ผู้ที่บาดเจ็บเล็กน้อยแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้
    ง. เมื่อท่านประสงค์จะใช้บริการของโรงพยาบาลโปรดทำตามขันตอน

    ๕. ข้อความทีว่า “หากโลกอุ่นขึ้นพื้นที่เพาะปลูกก็จะเกิดมีทางขั้วโลกเหนือมากขึ้น” มีความหมายตามข้อใด
    ก. การมีพื้นที่เพาะปลูกเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
    ข. ผลผลิตทางการเกษตรขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศเป็นสำคัญ
    ค. เมื่ออากาศอุ่นขึ้นพื้นที่ซึ่งเคยหนาวจัดจะมีผลผลิตเปลี่ยนไป
    ง. ผลผลิตทางการเกษตรในเขตร้อนเดิมจะเป็นผลิตผลของเขตหนาวซึ่งกลายเป็นเขตร้อน

    ๖. ดาราหญิงผู้หนึ่งแสดงบทร้ายได้สมจริงจนผู้ดูบางคนเกลียด เธอไปซื้อของตามตลาดแม่ค้าก็ไม่ขายให้ สุดากับลูกสาวอายุ ๑๐ ขวบ ดูละครที่ดาราผู้นี้แสดงสุดาจะคุยกับลูกเสมอเวลาดูโทรทัศน์ คำพูดในข้อใดแสดงว่าทักษะในการดูของสุดาถูกต้อง
    ก. ยายนั้นใจร้ายมากลูกไม่ควรเอาอย่าง
    ข. ลูกอย่าไปเกลียดเขาเลย เขาแสดงไปตามบทบาทเท่านั้น
    ค. แม่ว่าเราเลิกดูละครเรื่องนี้เถอะคนอะไรร้ายจนทนไม่ไหวแล้ว
    ง. ลูกตนเองเข้าใจนะว่านี่เป็นการแสดงลูกดูเขาแล้วลองคิดดู ว่าทำตัวอย่างนั้นเหมาะไหม

    ๗. ข้อใดมีวิธีแสดงเหตุผลต่างกับข้ออื่น
    ก. วิเชียรชอบอากาศบริสุทธิ์ ในตอนเช้าเขาเลือกการเดินไปทำงาน
    ข. วิเทศติดเกมคอมพิวเตอร์การเรียนของเขาตกลงมาก
    ค. วิวธแข็งแรงและรูปร่างดูดีขึ้น เขาเล่นแบดมินตันทุกวัน
    ง. วิธูมีมนุษย์สัมพันธดีเขาเป็นที่รู่จักของเพื่อนๆ และอาจารย์ในโรงเรียน

    ๘. ข้อใด้มีการโน้มน้าวใจน้อยที่สุด
    ก. ห้องพักสไตล์ ส่วนตัวพร้อมสระว่ายน้ำ และโฮมเธียเตอร์ทันสมัยในห้องนั่งเล่น
    ข. ห้องพักแบบเดอลุกซ์ในโรงแรมที่ชายหาดสวยที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
    ค. ห้องพักกว้างขวางในบรรยากาศที่คุณจะประทับใจตลอดไป
    ง. ห้องพักในโอกาสวันหยุดสุดสัปดาห์ของคุณและสมาชิกในครอบครัว

    ๙. ข้อใดไม่มีจินตภาพทางการเคลื่อนไหว
    ก. มีหมีพีดำขลับ ขึ้นไม้ผับฉับไวถึง
    ข. กระจงกระจิดเตี้ย วิ่งเรี่ยเรี่ยน่าเอ็นดู
    ค. กระรอกหางพัวพู่ โพรงไม้อยู่คู่ไล่ตาม
    ง. เลียงผาอยู่ภูเขา หนวดพรายเพราเขาแปลปลาย

    ๑๐. คำสอนในข้อใดไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน
    ก. อย่าชิงสุกก่อนห่ามไม่งามดี เมื่อบุญมีมันคงจะมาอย่างปรารมภ์
    ข. อย่าเกียจคร้านการสตรีจงนิยม จะอุดมสินทรัพย์ไม่อับจน
    ค. ยามสิ้นแสงสุริยาอย่าไปไหน จุดไต้ไฟเข้าไปส่องในห้องก่อน
    ง. จะผัดหน้าทาแป้งแต่งอินทรีย์ ดูฉวีผิวเนื้ออย่าเหลือเกิน

    • นางสาวปนัดดา อินทะสะระ

      วลี

      ๑. ตอบ ง

      ๒. ตอบ ข

      ๓. ตอบ ง

      ๔. ตอบ ข

      ๕. ตอบ ข

      ๖. ตอบ ก

      ๗. ตอบ ก

      ๘. ตอบ ง

      ๙. ตอบ ง

      ๑๐.ตอบ ค

      • นายชนะภัย นวนไหม

        วลี

        ๑. ตอบ ง
        ๒. ตอบ ข
        ๓. ตอบ ง
        ๔. ตอบ ข
        ๕. ตอบ ข
        ๖. ตอบ ง
        ๗. ตอบ ค
        ๘. ตอบ ง
        ๙. ตอบ ง
        ๑๐.ตอบ ข

  5. นางสาวจันทิมา ขาวแก้ว

    1. ข้อความต่อไปนี้ใช้ภาพพจน์กี่แห่ง
    ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้ มีพรรณ
    ภายนอกแดงดูฉัน ชาดบ้าย
    ภายในย่อมแมลงวัน หนอนบ่อน
    ดุจดั่งคนใจร้าย นอกนั้นดูงาม
    ก. ๑ แห่ง ข. ๒ แห่ง
    ค. ๓ แห่ง ง. ๔ แห่ง

    อ่านคำประพันธ์ต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ 2-3
    งานก็ต้องถูกงด น้ำตาท่วมรถที่ผ่อนมาหลายปี
    มองปิ๊กอัพถูกยึด รถเครื่องถูกยึดบ๊ายบายเพื่อนซี้
    วันหลังถ้ามีเวลา จะซื้อเอ็งกลับมาอีกที

    2. คำประพันธ์ข้างต้นใช้ภาพพจน์ตามข้อใด
    ก. อติพจน์ และ บุคคลวัต
    ข. สัญลักษณ์ และ อุปลักษณ์
    ค. บุคคลวัต และ สัญลักษณ์
    ง. อุปลักษณ์ และ อติพจน์

    3 . คำประพันธ์ข้างต้นไม่สะท้อนปัญหาด้านใด
    ก. สังคม
    ข. แรงงาน
    ค. ครอบครัว
    ง. เศรษฐกิจ

    4. ข้อใดใช้อวัจนภาษา
    ก. นาวาเอียงเสียงกุกลุกขึ้นร้อง มันดำล่องน้ำไปช่างไวเหลือ
    ข. ตลิ่งเบื้องบูรพาศาลาลาน เรือขนานจอดโจษกันจอแจ
    ค. ถึงวัดแจ้งแสงจันทร์จำรัสเรือง แลชำเลืองเหลียวหลังหลั่งน้ำตา
    ง. พี่เร่งเตือนเพื่อนชายพายกระโชก ถึงสามโคกต้องแดดยิ่งแผดแสง

    5. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดไม่มีการใช้สัญลักษณ์ในการให้ความหมายแทนอีกสิ่งหนึ่ง
    ก. เริ่มยินดีสีขาวพราวพิสุทธิ์
    ข. ยิ่งโกมุทบานพ้นชลสาย
    ค. แต่เนิ่นนานมือมารมากล้ำกราย
    ง. ความเพริศพรายลดค่าราคาคน
    6. ข้อใดใช้ภาพพจน์ต่างชนิดจากข้ออื่น
    ก. ขึ้นรถทรงรถทองผ่องพรรณ งามงอนอ่อนฉัน เฉกนาคราชกำแหง
    ข. ตายระดับทับกันดังฟอนฟาง เลือดนองท้องช้าง เหลวไหล
    ค. หวังเป็นเกือกทองรองบาทา พระผู้วงศ์เทวาอัน ปรากฏ
    ง. เจ้างามเนตรประหนึ่งนัยนาทราย เจ้างามขนง ก่งละม้ายคันศรทรง

    จงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 7-10
    โหยหวนหวูดหวูดรถไฟ จุดหมายอยู่ไหนในโลกกว้าง
    ผ่านหุบเหวทะเลทรายไปตามราง เลื้อยลอดอุโมงค์กว้างอันมืดนาน
    เด็กน้อยยองยอง แม่ใช้ไปซื้อของซื้อข้าวสาร
    เอาไม้เขี่ยรถไฟบนใบลาน รถไฟคลานเป็น อ.อ่าง ละลานลือ
    พลางควานกระเป๋าพบรอยขาด ตรงที่คาดว่าจะมีเหรียญวางทื่อ
    ฉันทำความอิ่มหายไปหลายมื้อ เด็กน้อยตีมือกระทืบรถไฟจนแหลกเหลว

    7.“รถไฟ” ในที่นี้เป็นการใช้ภาพพจน์ประเภทใด
    ก. อุปลักษณ์
    ข. สัญลักษณ์
    ค. บุคคลวัต
    ง. อติพจน์

    8.“เด็กน้อย” เป็นคนอย่างไร
    ก. ช่างจินตนาการ
    ข. โหดเหี้ยมอำมหิต
    ค. ร่ำรวย
    ง. ไม่ระมัดระวัง

    9.แนวคิดสำคัญของบทประพันธ์คือ
    ก. ความฝันกับจินตนาการ
    ข. ความยากจนกับความฝัน
    ค. ความยากจนกับจินตนาการ
    ง. ความยากจนกับความไม่ระมัดระวัง

    10.บทประพันธ์ข้างต้นไม่ปรากฏโวหารภาพพจน์แบบใด
    ก. สัทพจน์
    ข. อุปลักษณ์
    ค. สัญลักษณ์
    ง. บุคคลวัต

    • นายอนุชา คงบัวเล็ก

      โวหารภาพพจน์

      1. ตอบ ข 2.
      2. ตอบ ก 3.
      3. ตอบ ค 4.
      4. ตอบ ค 5.
      5. ตอบ ง 6.
      6. ตอบ ค 7.
      7. ตอบ ก 8.
      8. ตอบ ก 9.
      9 ตอบ ค 10.
      10 ตอบ ค

  6. นายติณณภพ พิณสุวรรณ

    คำบุพบท

    ๑. “ ผู้มีวาจาสัตย์ย่อมได้รับความเชื่อถือ_______ผู้อื่น ” ควรเติมคำใด
    ที่เหมาะสมลงในช่องว่าง
    ก. แก่
    ข. กับ
    ค. ต่อ
    ง.จาก

    ๒. คำบุพบทในข้อใดนำหน้าคำที่ต่างชนิดกับข้ออื่น
    ก. อยู่ที่ใจ
    ข. รักระหว่างรบ
    ค. แผงลอยริมถนน
    ง. เด็กหลังเขา

    ๓. ข้อใดเป็นคำบุพบทที่นำหน้าประโยค
    ก. พ่อมาถึงตั้งแต่ไก่ยังไม่โห่
    ข. เขาพูดตามซื่อ
    ค. เขากินข้าวกับฉัน
    ง. เงินของเขาหาย

    ๔. คำบุพบทในข้อใดแสดงความสัมพันธ์ด้วยความหมายที่แตกต่างจากข้ออื่น
    ก. ฟันด้วยมีด
    ข. ทอด้วยมือ
    ค. ทำด้วยอารมณ์
    ง. สัมผัสด้วยดวงจิต

    ๕. ประโยคในข้อใดเติมบุพบทได้ระหว่างคำ
    ก. หน้าต่างเปิด
    ข. ฝนตกหนัก
    ค. บ้านเราปิด
    ง. เสือกินไก่

    ๖. คำว่า “ ที่ ” ในข้อใดเป็นบุพบท
    ก. อยู่ที่บ้าน
    ข. คนที่หนึ่ง
    ค. ถิ่นที่อยู่
    ง. เรื่องที่พูด

    ๗. ข้อใดเป็นคำบุพบทที่ใช้เชื่อมกับคำอื่น
    ก. พวกเราเดินทางโดยรถยนต์
    ข. ขนมเหล่านั้นเป็นของคุณแม่
    ค. นกเกาะอยู่บนต้นไม้
    ง. ถูกทุกข้อ

    ๘. คำว่า “ ต่อ ” ใช้อย่างไร
    ก. ใช้กับผู้ต่างชั้นต่างฐานะกัน
    ข. ใช้เพื่อแสดงว่าให้อีกฝ่ายหนึ่ง
    ค. ใช้เมื่อทั้งสองฝ่ายทำอาการร่วมกัน
    ง. ใช้ในความหมายว่า “จาก”

    ๙. คำบุพบทในข้อใดที่สามารถละทิ้งได้โดยความหมายไม่เปลี่ยน
    ก. ลูกชายศึกษาเล่าเรียนด้วยความตั้งใจ
    ข. คุณพ่อบริจาคที่ดินให้แก่วัด
    ค. เขาเห็นแก่ลาภยศสรรเสริญ
    ง. เราล้างจานด้วยผงซักฟอกแทน

    ๑๐. “ ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี_____เจ้าหน้าที
    ภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ” ควรใช้บุพบทคำใดเติมลงในช่องว่างจึงจะถูกต้อง
    ก. กับ
    ข. แก่
    ค. แด่
    ง. ต่อ

  7. นางสาวปนัดดา อินทะสะระ

    เสียงวรรณยุกต์

    ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ๑-๓
    ก.โบราณว่าเป็นข้าจอมกษัตริย์
    ข.ราชสวัสดิ์ต้องเพียรเรียนรักษา
    ค.ท่านกำหนดจดจำในตำรา
    ง.มีมาแต่โบราณช้านานครัน

    ๑.ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ ๕
    ๑ ข้อ ก ๒. ข้อ ข ๓. ข้อ ค ๔. ข้อ ง

    ๒.ข้อใดมีเสียงประสม
    ๑ ข้อ ก ๒. ข้อ ข ๓. ข้อ ค ๔. ข้อ ง
    ๓.ข้อใดมีคำออกเสียงอักษรควบ
    ๑ ข้อ ก ๒. ข้อ ข ๓. ข้อ ค ๔. ข้อ ง

    ๔.ข้อใดไม่มีเสียงวรรณยุกต์จัตวา
    ๑. พระเหลือบลงตรงโตรกชะโงกเงื้อม
    ๒.น้ำกระเพื่อมแผ่นผาศิลาเผิน
    ๓. กระจ่างแจ้งแสงจันทร์แจ่มเจริญ
    ๔.พระเพลิดเพลินพลางเพรียกสำเหนียกใจ

    ๕ ข้อใดประกอบด้วยสระเสียงยาวทุกคำ
    ๑. เวิ้งว้าง เงินผ่อน แบ่งแยก
    ๒. วี้ดว้าย เชิญชวน คลอนแคลน
    ๓. โพล้เพล้ ร่องแร่ง จองหอง
    ๔. กรีดกราย ร่อนแร่ ลอดช่อง

    ๖. ข้อใดไม่มีวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ
    ๑. สร้างสวรรค์ชั้นกวีรุจิรัตน์
    ๒. ผ่องประภัศร์พลอยหาวพราวเวหา
    ๓. พริ้งไพเราะเสนาะกรรณวรรณา
    ๔. สมสมญาแห่งสวรรค์ชั้นกวี

    ๗. เสียงวรรณยุกต์ใดมีโครงสร้างต่างจากข้ออื่น
    ๑. ขวาน ๒. หลาม ๓, เผย ๔. ฝูง

    ๘. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ ๕ เสียง
    ๑. ขี้เกียจสันหลังยาว
    ๒. ชักใบให้เรือเสีย
    ๓. ได้ทีขี่แพะไล่
    ๔. น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

    ๙. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ไม่ครบ ๕ เสียง
    ๑. ฉันรักภาษาไทยที่สุด
    ๒. ฉันชอบอ่านวรรณคดีไทยา
    ๓. ฉันภาคภูมิใจในภาษาไทยของเรา
    ๔. เพื่อนของฉันมักกล่าวว่าภาษาไทยค่อนข้างยาก

    ๑๐.ข้อใดมรวรรณยุกต์เหมือนคำว่า “นกคุ่ม” ทุกคำ
    ๑. ทุกเส้น ยกยอด ชิดชอบ
    ๒. รักส้ม คุกเข่า ฟ้ารั่ว
    ๓. เล็ดลอด เล้าไก่ รู้หลัก
    ๔. ก๊กเก่า เย้าหยอก คิดว่า

    • นายสิทธิพงษ์ นาวาพัสดุ

      เสียงวรรณยุกต์

      1. ตอบ ก
      2. ตอบ ข
      3. ตอบ ค 4.
      4. ตอบ ก
      5. ตอบ ข
      6. ตอบ ค 7
      7. ตอบ ข
      8. ตอบ ง
      9 ตอบ ค 10.
      10 ตอบ ค

    • นายติณณภพ พิณสุวรรณ

      1. ตอบ ก
      2. ตอบ ข
      3. ตอบ ง
      4. ตอบ ก
      5. ตอบ ข
      6. ตอบ ง
      7. ตอบ ข
      8. ตอบ ง
      9 ตอบ ค 10.
      10 ตอบ ค

  8. นางสาวปาริชาติ มากแจ้ง

    คำสรรพนาม

    1. คำสรรพนามมีกี่ชนิด
    ก. 4 ชนิด ข. 5 ชนิด ค. 6 ชนิด ง. 7 ชนิด

    2. สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่แบ่งเป็นส่วนๆ เรียกว่า
    ก. อนิยมสรรพนาม ข. นิยมสรรพนาม
    ค. วิภาคสรรพนาม ง. ประพันธสรรพนาม

    3. คำสรรพนามที่ใช้เชื่อมข้อความเรียกว่าอะไร
    ก. วิภาคสรรพนาม ข.ประพันธสรรพนาม
    ค. ปฤจฉาสรรพนาม ง.นิยมสรรพนาม

    4. เขาชอบบ้านที่อยู่ในป่า คำว่า ที่ เป็นสรรพนามชนิดใด
    ก. วิภาคสรรพนาม ข. ประพันธสรรพนาม
    ค. ปฤจฉาสรรพนาม ง. นิยมสรรพนาม

    5. คำในข้อใดเป็นได้ทั้งสรรพนามบุรุษที่ 2 และ 3
     ก. ฉัน ข. ผม ค. คุณ ง. ท่าน

    6. ข้อใดมีปฤจฉาสรรพนามและสรรพนามบุรุษที่ 1
    ก. วันนี้ฉันต้องไปไหน ข. ใครๆ ก็รักฉัน
    ค. เธอไม่เข้าใจอะไร ง. ผู้ใดจะไปกับฉันก็ได้

    7.ข้อใดมีสรรพนามบุรุษที่ 2
    ก. ท่านไม่มาหาแม่ ข. อาตมาจะแสดงธรรมที่นี่
    ค. อย่ามาหากระผมเลย ง. คุณแจ่มใสขึ้นมาก

    8. ข้อใดเป็นสรรพนามบุรุษที่ 3
    ก. นี่เธอตัดผมใหม่อีกแล้วนะ ข. เธอจะไปกับเราไหม
    ค. เขาทำไมถึงได้มาช้านัก ง. เมื่อไรๆ แกไม่เคยเปลี่ยนเลยนะตาดำ

    9.นั่นมีราคาแพง นั่น เป็นคำสรรพนามชนิดใด
    ก. นิยมสรรพนาม ข. อนิยมสรรพนาม
    ค. ปฤจฉาสรรพนาม ง. ประพันธสรรพนาม

    10. อะไร ในข้อใดเป็นอนิยมสรรพนาม
    ก. อะไรตกลงมาบนหลังคา ข. เธอพูดอะไรฉันไม่ได้ยิน
    ค. อะไรคุณก็ไม่กินสักอย่าง ง. วันนี้เธอทำอาหารอะไร

    • นายอนุชิต เซี่ยงหว่อง

      คำสรรพนาม

      ๑. ตอบ ง
      ๒. ตอบ ค
      ๓. ตอบ ง
      ๔. ตอบ ก
      ๕. ตอบ ง
      ๖. ตอบ ก
      ๗. ตอบ ง
      ๘. ตอบ ข
      ๙. ตอบ ก
      ๑๐. ตอบ ค

  9. นายธีรภาพ หวานแก้ว

    คำกริยา

    ๑.คำที่ขีดเส้นใต้ข้อใดเป็นคำกริยาอกรรม
    ๑. บริเวณป่ารอบตัวมืดสนิท (สนิท)
    ๒. น้ำหวานเหนียวข้นกระเซ็นติดฝามุมห้อง (กระเซ็น)
    ๓. เราต่างถอดรองเท้าออกวางไว้ข้างบันได (ออก)
    ๔. สายลมแรงโยกกิ่งก้านต้นไม้ให้ไหวเอน (โยก)

    ๒.ข้อใดเป็นคำพ้องที่เป็นคำนามและคำกริยา
    ๑. มันชนิดนี้เป็นมันที่อร่อยกว่ามันชนิดอื่น
    ๒. เขาปีนเขาได้แสดงว่าเขาแข็งแรง
    ๓. แม่ขันน้องจนขันตกจากมือก็ยังไม่หายขัน
    ๔. ถ้ากันไปด้วยก็คงจะกันแกไม่ให้ไปตีกันกับเขา

    ๓.ข้อใดมีกริยาเป็นคำประสมทั้งหมด
    ๑. คุณปูนั่งเล่านิทาน หลานๆ ยิ้มแป้น
    ๒. เวลาแดดร้อนจัดต้องเดินกางร่ม
    ๓. เขาชอบออกตัวเพราะเกรงใจเพื่อนๆ
    ๔. พ่อถ่ายรูปน้องขณะนอนหลับ

    ๔.ข้อใดต้องใช้คำกริยา ”ขัน ”
    ๑. ช่างประปาคงใช้คีม…ฝาท่อไม่ออก เลยยังไม่ซ่อม
    ๒. ก๊อกน้ำเกลียวหวาน…ไม่อยู่ น้ำยังหยด
    ๓. ผนังปูน…ตะปูไม่อยู่ ปูนร่วงมาก
    ๔. เชือกหลุดทำให้ขัน…รอก ปิดหลังคาไม่ได้

    ๕.คำกริยาที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดไม่ใช่กริยาออกรรม
    ๑. ตัวละครผ่านออกประตูมาทางนี้ (ผ่าน)
    ๒. นางกินรีพำนักอยู่ที่เขาไกรลาส (พำนัก)
    ๓. พระสุธนตามนางมโนราห์ไป (ตาม)
    ๔. ผู้แสดงร่ายรำด้วยท่วงทีเข้าทำนองเพลง (ร่ายรำ)

    ๖.คำที่ขีดเส้นเส้นใต้ในข้อใดเป็นคำกริยาสกรรม
    ๑. พวกตัดไม้ยังตัดกันไม่หยุด (ตัด)
    ๒. วัวแดงตัวนั้นล้มจมพงหญ้า (ล้มจน)
    ๓. ขบวนเรือถึงวัดตอนดึกเกือบห้าทุ่ม (ถึง)
    ๔. ไม้สักต้นกำลังงามขึ้นปนกับไม้แดงไม้ยาง (ขึ้นปน)

    ใช้คำข้อความต่อนี้ตอบคำถามข้อ ๗.
    ก.เธอจงถักทอฝันที่เธอหวัง (หวัง)
    ข.หนึ่งชีวิตหนึ่งใจมอบให้เพียงเธอ (ให้)
    ค.อุปสรรคขวากหนามทิ่มแทงอย่างโหดร้าย (โหดร้าย)
    ง.เกิดคำถามขึ้นในใจว่าทำไมผู้ใหญ่ถูกเสมอ (เกิด)

    ๗.คำที่ขีดเส้นใต้ข้อใดทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก
    ๑. ข้อ ก.
    ๒. ข้อ ข.
    ๓. ข้อ ค.
    ๔. ข้อ ง.

    ๘.ข้อใดใช้คำกริยาได้ถูกต้อง
    ๑. ถ้าเขาไม่จำกัดตัวเองจากคนกลุ่มอื่น เขาก็จะเป็นที่รู้จักมากกว่านี้
    ๒. เขาทำงานหนักมาก ไม่ค่อยมีเวลาให้กับคอบครัวใน ที่สุดก็ต้องเลิกรากับภรรยา
    ๓. นายช่างไม่ถือตัวเลย ช่วงพักกลางวันเขามักจะร่วมรับประทานอาหารกับคนงาน
    ๔. นักท่องเที่ยวประทับใจที่เครื่องประดับของคนไทยเราราคาถูกแต่มีคุณภาพต่ำ

    ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ๙.
    ”เสด็จเพคะ เสด็จให้มาทูลถามเสด็จว่าเสด็จจะเสด็จหรือไม่เสด็จ ถ้าเสด็จจะเสด็จเสด็จก็จะเสด็จ ถ้าเสด็จไม่เสด็จเสด็จก็ไม่เสด็จ”

    ๙.ข้อความข้างต้นนี้มีกริยาที่เป็นกริยาราชาศัพท์กี่คำ
    ๑. ๕ คำ
    ๒. ๖ คำ
    ๓. ๗ คำ
    ๔. ๘ คำ

    ๑๐.ประโยคใดใช้คำกริยาถูกต้องตรงตามความหมาย
    ๑. หลังจากผ่าตัดได้เพียง ๑ อาทิตย์ ดาราชื่อดังก็ฟื้นตัวดีขึ้นมาก
    ๒. รัฐบาลอนุมัติเงินงบประมาณ ๓๐๐ ล้านบาท ให้ฟื้นฟูบาทวิถีในกรุงเทพฯ
    ๓. สะพานนี้ชำรุดแล้ว ทางจังหวัดกำลังเตรียมรื้อฟื้นต้นเดือนหน้านี้
    ๔. ชาวบ้านสามารถพลิกฟื้นแผ่นดินที่แห้งแล้งแห่งนี้ให้สมบูรณ์ได้

    • นางสาวนั

      ๑. ตอบ ๒
      ๒. ตอบ ๓
      ๓. ตอบ ๔
      ๔. ตอบ ๔
      ๕. ตอบ ๓
      ๖. ตอบ ๑
      ๗. ตอบ ๔
      ๘. ตอบ ๔
      ๙. ตอบ ๓
      ๑๐. ตอบ ๔

    • นางสาวนัฐชา หนูคง

      คำกริยา

      ๑. ตอบ ๒
      ๒. ตอบ ๓
      ๓. ตอบ ๔
      ๔. ตอบ ๔
      ๕. ตอบ ๓
      ๖. ตอบ ๑
      ๗. ตอบ ๔
      ๘. ตอบ ๔
      ๙. ตอบ ๓
      ๑๐. ตอบ ๔

  10. นายหัสนัย พรหมมาน

    พยางค์

    1.คำในข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนกันทั้งสองคำ
    ก.ตั้งร้าน ข.ข้างขึ้น ค.คล่องแคล่ว ง.ทรุดโทรม

    2.ข้อใดมีโครงสร้างพยางค์ต่างกับข้ออื่น
    ก.ขึ้น ข.คับ ค.ซึ้ง ง.นก

    3.ข้อใดมีจำนวนพยางค์ทีประกอบด้วยสระลดรูปมากที่สุด
    ก.กวนขนม ทุ่มทุน ทางขนาน ข.ปลดปลง ปกป้อง ครบครัน
    ค.ตกใจ สิ้นเคราะห์ กราบกราน ง.เกรี้ยวกราด กลบเกลื่อน เกรงกริ่ง

    4.ข้อใดประกอบด้วยพยางค์คำตายทั้งหมด
    ก.กฎเกณฑ์ ข.ผลลัพธ์
    ค.พิษสง ง.อุกฤษฏ์

    5.ข้อใดไม่มีพยางค์คำตาย
    ก.ไม้แก้วกางกิ่งพิงกับกิ่งเกต
    ข.ฝูงโนเรศขันขานประสานเสียง
    ค.น้ำตาลคลอท้ออกเห็นนกเรียง
    ง.เหมือนเรียมเคียงร่วมคู่เมื่ออยู่เรือน

    6.คำในข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือน “ชาติภูมิ”
    ก.นพมาส ข.เทศกาล ค.เมรุมาศ ง.ภาพยนตร์

    7.ข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนคำว่า”พรรณนา”
    ก.ชนนี ข.ปรัชญา ค.ทรรศนา ง.ดุษฎี

    8.ข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนคำว่า “ชันษา”
    ก.กัณหา ข.มารยา ค.ปริศนา ง.จินตหรา

    9.ข้อใดพยางค์แรกมีเสียงพยัญชนะสะกด
    ก.โฆษณา ข.กรรมาธิการ ค.วาตภัย ง.ทิฐิ

    10.ข้อใดมีจำนวนพยางค์น้อยที่สุด
    ก.คณะบุรุษ ข.ประชาธิปไตย
    ค.ผลิตภัณฑ์ชุมชน ง.ปรากฎการณ์ธรรมชาติ

    • นางสาวสุรานี แสงเดือน

      พยางค์

      ๑. ตอบ ง
      ๒. ตอบ ข
      ๓. ตอบ ข
      ๔. ตอบ ง
      ๕. ตอบ ก
      ๖. ตอบ ข
      ๗. ตอบ ก
      ๘. ตอบ ง
      ๙. ตอบ ค
      ๑๐. ตอบ ข

  11. นางสาวสุรานี แสงเดือน

    ระดับภาษา

    1. ข้อความต่อไปนี้ใช้ภาษาระดับใด
    คุณเกษมเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความรู้ความสามารถ และช่วยสร้างความเจริญแก่หน่วยงานนี้มาไม่น้อย จนเป็นที่รักใคร่ของพวกเราทุกคน เราเสียดายที่คุณเกษมจะไม่ได้ร่วมงานกับเราอีกแต่ก็ยินดีที่ท่านได้เลื่อนตำแหน่ง มีความก้าวหน้าในอาชีพ เชื่อว่าคุณเกษมจะสร้างความเจริญให้แก่หน่วยงานแห่งใหม่ ในโอกาสนี้ ขอมอบของที่ละลึกแก่ท่านเอแสดงน้ำใจของพวกเราทุกคน
    1.ระดับกันเอง 2. ระดับทางการ 3. ระดับกึ่งทางการ 4. ระดับไม่เป็นทางการ

    2. ข้อใดใช้ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
    1.ธนาคารส่งจดหมายนัดให้สุดาไปสอบสัมภาษณ์
    2. ลูกสาวของเขาทั้งสามคนหน้าตาพอไปวัดไปวาได้
    3. เจ้าหน้าที่เอกสารว่าถูกต้องแล้วจึงประทับตรารับรอง
    4.อธิบดีได้รับเชิญให้กล่าวคำอวยพรในงานมงคลสมรส

    3. ข้อใดใช้ภาษาระดับทางการ
    1.การกลับคำให้การของผู้ต้องหามีผลอย่างยิ่งต่อกระบวนการสอบสวน
    2. จนถึงขณะนี้การปฏิรูปการศึกษาไทยยังไม่เป็นรูปเป็นร่างเท่าใดนัก
    3. รัฐบาลแถลงว่านับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจะจริงจังกับการแก้ปัญหาความยากจน
    4. เพราะความไม่สันทัดต่อการเมืองเป็นผลให้บ้านเราต้องเปลี่ยนรัฐมนตรีอยู่เสมอ

    4. ข้อใดใช้ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
    1. เราจะรักษามุมสงบของป่าอุ้มผางไว้ได้ด้วยการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
    2. ภาวะหนี้เสียเกิดจากการไม่สุจริตของลูกหนี้ การปรับค่าเงินบาท และการที่รัฐบาลปิดสถาบันการเงิน
    3. ประเทศชาติจะเจริญรุ่งเรืองได้ ประชาชนทุกสาขาอาชีพต้องเป็นคนที่มีทั้งที่มีทั้งความสามารถและคุณธรรม
    4. การศึกษาสมัยปฏิรูป ครูต้องพยายามให้นักเรียนออกความคิดความเห็นเรื่องต่างๆ เอง โดยครูจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้จัดการห้องเรียน

    5. ข้อใดเป็นภาษาทางการ
    1. นักวิชาการไทยได้เสนอข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์หลายอย่างในที่ประชุมนานาชาติ
    2. การประเมินมหาวิทยาลัยมีข้อดีคือทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ
    3. การจัดลำดับวัตถุประสงค์จะช่วยให้ทราบว่าการอุดมศึกษาไทยควรดำเนินไปทิศทางไหน
    4. การประสานงานระหว่างอาจารย์ในประเทศกับนักวิชาการที่เพิ่งจบจากต่างประเทศดำเนินต่อไปด้วยดี

    6. ข้อใดใช้ระดับภาษาแตกต่างจากข้ออื่น
    1. กินของไทย ใช้ของไทย ร่วมใจกันประหยัด เป็นคำขวัญยอดนิยมในปีท่องเที่ยวไทย
    2. ป่าที่อุดมสมบูรณ์ของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำลำธารหลายสาย
    3. ต้องยอมรับว่าเป็นความฉลาดปราดเปรื่องของผู้จัดที่เลือกอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อนเป็นที่ประชุม
    4. ไม่เคยแม้สักครั้งที่ไปถึงเมืองไหนแล้ว จะไม่ได้ออกไปชมบรรยากาศยามเช้าของเมืองนั้น

    7.ข้อใดใช้ภาษาต่างระดับจากข้ออื่น
    1. ปัญหาของวัยรุ่นและเยาวชนเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลกำลังแก้ไขอยู่ในขณะนี้
    2. สารกันบูดหรือสารกันเสียเป็นสารเคมีประเภทหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการถนอมอาหาร
    3. ธนาคารพาณิชย์ปรับลดดอกเบี๊ยลงมาอย่างต่อเนื่องและยังไม่มีทีท่าว่าจะสะดุดหยุดลง
    4. โครงการผู้นำเยาวชนเป็นโครงการนำร่องที่ดี สร้างระเบียบวินัยให้กลุ่มวัยรุ่นที่บาดหมางันกลับมาปรองดองกัน

    8.ข้อใดใช้ระดับภาษาต่างจากข้ออื่น
    1 แต่ครั้งดึกดำบรรพ์โลกไม่มีเส้นกั้นอาณาเขตเพื่อแบ่งออกเป็นประเทศต่างๆ เฉกเช่นทุกวัน
    2 ก่อนที่วัฒนธรรมอินเดียและจีนจะแผ่เข้ามาในเอเชียอาคเนย์ ผู้คนแถวนี้ถือว่าเป็นพวกบ้านป่าเมืองเถื่อน แต่การรับวัฒนธรรมก็ใช่ว่าจะรับมาทั้งแท่งหรือรับไปทุกเรื่อง
    3 ระบบความเชื่อ ทำให้สังคมเข้าใจว่าอำนาจเหนือธรรมชาติทั้งปวงเป็นผู้สร้างสรรค์ดนตรีและนาฏศิลป์ขึ้น
    4 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งกลางแห่งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างตะวันตกกับตะวันออกจึงทำให้เกิดการสร้างสรรค์ทางสังคมและวัฒนธรรมขึ้น

    9. ข้อใดมิใช่ภาษาในระดับเดียวกันกับข้ออื่น
    1 แม้จะอ้างว่าเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่พฤติกรรมก็ชัดว่าเป็นการเตะถ่วง
    2 การมุ่งเอาชนะกันโดยปราศจากความรับผิดชอบก่อให้เกิดผลเสียอันประมาณมิได้
    3 แนวคิดเรื่อง ธรรมรัฐ กำลังได้รับการขานรับจากสังคม
    4 ถ้ามิใช่เกมการเมือง ไฉนจึงตัดสินใจอย่างฉุกละหุกลุกลี้ลุกลน

    10. ข้อใดใช่ภาษากะทัดรัด
    1 เราควรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโลกเรานี้
    2 การอ่านมากและฟังมากนำไปสู่ความเป็นพหูสูต
    3 ชั้นบรรยากาศถูกทำลายเสียหายเพราะมลพิษจากโลกนี้เอง
    4 เพื่อให้ได้ทุกสิ่งสมปองดังปรารถนา ต้องยึดคำขวัญว่าอุปสรรคคือบทเรียนของชีวิต

    • นายศิลปชัย นาวาพัสดุ

      ระดับภาษา

      ๑. ตอบ 3
      ๒. ตอบ 2
      ๓. ตอบ 1
      ๔. ตอบ 4
      ๕. ตอบ 1
      ๖. ตอบ 1
      ๗. ตอบ 1
      ๘. ตอบ 2
      ๙. ตอบ 2
      ๑๐. ตอบ 2

    • นายหัสนัย พรหมมาน

      ระดับภาษา

      ๑. ตอบ 3
      ๒. ตอบ 2
      ๓. ตอบ 1
      ๔. ตอบ 4
      ๕. ตอบ 3
      ๖. ตอบ 2
      ๗. ตอบ 2
      ๘. ตอบ 2
      ๙. ตอบ 2
      ๑๐. ตอบ 2

  12. นายอนุชา คงบัวเล็ก

    คำประพันธ์

    ฉันจะไกว ไกวชิงช้า ไกวช้าช้า
    ไกวเธอไป ไปถึงฟ้า เวหาหาว
    ค่อยโยนไกว โยนเธอไป ถึงดวงดาว
    ผมเธอยาว ยาวสลาย จดปลายฟ้า
    ไกวตอนเช้า ถึงดวงดาว ในยามค่ำ
    ให้งามขำ เก็บดาวใส่ตะกร้า
    เลือกดาวดวงแพรวทำแก้วตา
    และเอามาฝากคนตาบอดเอย

    1.ข้อใดไม่ใช่กลวิธีที่ใช้ในคำประพันธ์ข้างต้น
    ก. การซ้ำคำ ข. การเล่นคำ
    ค. การหลากคำ ง. การเลียนเสียงธรรมชาติ

    2.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นของคำประพันธ์ข้างต้น
    ก.มโนภาพทีงดงาม ข.ความอลังการของภาษา
    ค.แนวคิดทีสร้างสรรค์ ง.จินตนาการีเหนือจริง

    ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 3-5
    พม่าอนารยะอำอำมหิตดิบด้าน ล่างผลาญศิลปะเลิศประเสริฐศรี
    “พุกามสวรรค์”นั้นรักทะนุถนอมอย่างดี เอาอัคคีเผาเมืองเพื่อนเถื่อนนัก
    เสีย”อยุธยา”ฟ้าโลกโศกเศร้า ระย้าไร้วาวรุ้งเกียรติศักดิ์
    ปรางค์เจดีย์โบสถ์วิหารสุดแสนรัก จักรกร้างอ้างว้างทุกคืนวัน

    3.ข้อใดไม่ใช่สาระทีปรากฏอยู่ในคำประพันธ์
    ก.สาเหตุของสงคราม ข.ลักษณะของสงคราม
    ค.ความหมายของสงคราม ง.ผลของสงคราม

    4.น้ำเสียงของผู้ประพันธ์ได้แก่ข้อใด
    ก.ประชด ข.โกรธแค้น ค.ดูแคลน ง.เย้ยหยัน
    5.ข้อใดไม่อาจอนุมานได้ว่าเป็นบุคลิกภาพของผู้ประพันธ์
    ก.รักศิลปะ ข.รักความยุติธรรม
    ค.รักสันติภาพ ง.รักบ้านเกิดเมืองนอน

    ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 6-7
    ก.กว่าเจ้าจะสูงใหญ่เกินไหล่แม่ ลำบากแท้เพียงไหนดวงใจเอ๋ย
    ข.สักหายใจห่างเจ้าแม่ไม่เคย เฝ้าชมเชยลูกน้อยผู้กลอยใจ
    ค.ความชรามาเยือนเตือนให้รู้ แม่จะอยู่กับเราอีกเท่าไหร่
    ง.ไม้ใกล้ฝั่งทรุดพังลงวันใด เย็นร่มไทรจักกลับไปกับกาล

    6.ข้อใดใช่ภาพพจน์แบบบุคคลวัต
    ก.ข้อ.ก ข.ข้อ.ข ค.ข้อ.ค ง.ข้อ.ง

    7.ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของผู้เขียนคำประพันธ์ข้างต้น
    ก.พรรณนาความรักที่มีต่อแม่
    ข.ระบายความโศกเศร้าที่แม่จะจากไป
    ค.แสดงความรู้สึกระลึกถึงพระคุณของแม่
    ง.เตือนให้ลูกดูแลแม่เพื่อทดแทนคุณ

    8.”ปัญญา”ตามความคิดของผู้แต่งตรงกับข้อใด
    ก.รู้รอบ ข.รู้ซึ้ง ค.รู้ด้วยใจ ง.รู้เฉพาะทาง

    9.ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของผู้แต่ง
    ก.แสดงทรรศนะ ข.โน้มน้าวใจ
    ค.ให้ความรู้ ง.เสนอความจริง
    ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 10
    นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
    เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
    พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่มา

    10.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นของคำประพันธ์ข้างต้น
    ก.ภาพ ข.เสียง ค.แสงสี ง.อารมณ์

    • นางสาวจันทิมา ขาวแก้ว

      คำประพันธ์

      ๑. ตอบ ง
      ๒. ตอบ ข
      ๓. ตอบ ค
      ๔. ตอบ ข
      ๕. ตอบ ง
      ๖. ตอบ ค
      ๗. ตอบ ข
      ๙. ตอบ ค

  13. นางสาวอรพรรณ ณิชากรพงศ์

    1) คำต่อไปนี้คำไหนเป็นคำสมาส
    ก. สงสาร
    ข. จันทร์เพ็ญ
    ค. นครหลวง
    ง. วิทยฐานะ
    2) คำต่อไปนี้ คำในข้อใดมีทั้งสมาสและสนธิ
    ก. เศรษฐกิจ
    ข. วิทยาทาน
    ค. ราชาคณะ
    ง. เดโชชัย
    3) คำในข้อใดเป็นคำสมาสทุกคำ (ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย)
    ก. ธุรการ วิทยาเขต กรินทร์
    ข. เคมีภัณฑ์ วนาราม สมณเพศ
    ค. บุรุษโทษ วรดิถี สรรพสินค้า
    ง. อัคคีภัย พลเมือง วิปัสสนา
    4) ต่อไปนี้คำใดเป็นคำสมาสตามวิธีของภาษาบาลี
    ก. พลรบ ค. พลเมือง
    ข. พลการ ง. พลความ
    5) ต่อไปนี้คำสมาสในข้อใดมีคำแปลว่า ” และ ” อยู่ด้วย
    ก. นรสีห์
    ข. บุตรทาน
    ค. สังฆสภา
    ง. ทาสกรรมกร
    6) คำสมาสมีในภาษาใด
    ก. ไทย
    ข. บาลี
    ค. สันสกฤต
    ง. บาลี สันสกฤต
    7) ข้อใดสะกดถูกตามหลักคำสมาส
    ก. ธุระการ
    ข. อิสรภาพ
    ค. ศิลปะกรรม
    ง. มนูษย์สัมพันธ์
    8) ข้อใดไม่ใช่คำสมาส
    ก. พระกร ค. พระนขา
    ข. พระอู่ ง. พระเศียร
    9) ข้อใดที่เหมือนกันระหว่างคำประสมกับคำสมาส
    ก. ที่มาของคำ
    ข. การอ่านออกเสียง
    ค. การแปลความหมายของคำ
    ง. จำนวนคำที่นำมาประสมกัน
    10) ข้อใดไม่ใช่อ่านอย่างคำสมาส
    ก. สามีภรรยา
    ข. บุตรภรรยา
    ค. บุญฤทธิ์
    ง. อัคคีภัย

  14. นายอนุชิต เซี่ยงหว่อง

    1.สำนวนไทยคู่ใดมีความหมายเหมือนกัน
    ก.ไม่รู้ทิศไม่รู้ทาง ไม่รู้ร้อนไม่รู้หนาว ข.ไม่รู้เหนือรู้ใต้ ไม่รู้อีโนอีเหน่
    ค.ไม่เออออห่อหมก ไม่อินังขังขอบ ง.ไม่ชอบมาพากล ไม่เป็นโล้เป็นพาย

    2.ข้อใดใช้สำนวนไทยได้ถูกต้องเหมาะสม
    ก.ลูกชายของเขาเรียนจบและได้งานทำเป็นฝั่งเป็นฝาไปแล้ว
    ข.ประชาชนดูตำรวจตัดสายฉนวนระเบิดด้วยความอกสั่นหวั่นไหว
    ค.ผู้ชายคนนี้หน้าไหวหลังหลอก ดูยิ้มแย้มแจ่มใส แต่ให้คนออกจากงาน
    ง.สิ่งทีเขาทำกับเด็กๆ ในวันนี้ วันหนึ่งข้างหน้าก็จะเกิดกับลูกหลานเขาเองเป็นกงเกียนกำเกวียน

    3.สำนวนในข้อใดมีน้ำเสียงต่างจากข้ออื่น
    ก.ไม้หลักปักเลน ข.กิ่งกาได้ทอง
    ค.วัวหายล้อมคอก ง.น้ำซึมบ่อทราย

    4.ข้อใดใช้สำนวนถูกต้อง
    ก.เรื่องมันลวงเลยมานานแล้ว คุณจะแกว่งเท้าหาเสี้ยนให้กลับเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาอีกทำไม
    ข.มีข่าวความไม่สงบเกิดขึ้นทีไร ชาวบ้านก็ซื้อสินค้าไปตุนกันแทบหมดห้าง วันนี้ห้างเลยเงียบเป็นเป่าวาก
    ค.เป็นลูกผู้หญิงต้องละเมียดละไม จะหยิบจับอะไรก็ให้เบามือหน่อย ข้าวของจะได้ไม่เสียหายเหมือนที่ว่าบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น
    ง.คุณมีตำแหน่งใหญ่ขึ้นมาอย่างนี้ อย่าเชื่อคำพูดหรือคำสนับสนุนของคนที่อยู่แวดล้อมให้มากนัก พวกลูกขุนพลอยพยักจะทำให้คุณลำบาก

    5.ข้อใดใช้สำนวนถูกต้อง
    ก.ลูกสาวฉันเป็นคนทีเรียกว่ากระเชอก้นรั่วจริงๆ ข้าวของทีเก็บไว้ไม่เคยจำได้ว่าเก็บไว้ที่ไหน
    ข.ทำอะไรควรคิดให้รอบคอบ ผู้ใหญ่ว่ากล่าวตักเตือนก็ควรปฏิบัติตาม เราะผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน
    ค.เขาชอบทำงานแบบขายผ้าเอาหน้ารอด วันนี้ก็เช่นกัน พอรู้ว่าเจ้านายมาตรวจโรงงานก็รีบทำความสะอาดทันที
    ง.ข่าวเหตุการณ์ระเบิดในห้างเมื่อเดือนก่อน ขณะนี้ยังไม่รู้ผลการสอบสวน เรื่องเงียบหายไปเหมือนคลื่นน้ำ

    6.สำนวนไทยในข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกันมากทีสุด
    ก.ลิงได้แก้ว กิ้งก่าได้ทอง ข.นกสองหัว เหยียบเรื่อสองแคม
    ค.ฟื้นฝอยหาตะเข็บ กวนน้ำให้ขุ่น ง.ขมิ้นกับปูน ขิงก็ราข่าก็แรง

    7.”อ้อยและหวานเป็นผู้หญิงสวยและมีเสน่ห์มาก จอมหลงรักเธอทั้งสองคน จึงไปรับอ้อยที่ที่ทำงานทุกวันและไปหาหวานทุกวันศุกร์เสาร์อาทิตย์”การกระทำของจอมตรงกับสำนวนใด
    ก.เหยียบเรือสองแคม ข.รักพี่เสียดายน้อง
    ค.สองฝักสองฝ่าย ง.จับปลาสองมือ

    8.ข้อใดใช้สำนวนได้ถูกต้อง
    ก.เธอยอมทำงานหนักจนเลือดตาแทบกระเด็นเพื่อหาเงินเพื่อหาเงินมาเลี้ยงลูกๆ
    ข.น้องเป็นลูกคนเดียวของครอบครัว ทุกๆ คนจึงรักและดูแลเธอราวกับดาวล้อมเดือน
    ค.ชลทำธุรกิจหลายด้าน และเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปด้วยดี บางครั้งเขาจึงต้องเสียเบี้ยบ้านรายทาง
    ง.หลังจากจัดงานศพให้พ่อแล้ว ชัยต้องทำงานใช้หนี้อยู่หลายปี เข้าทำนอนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

    9.ข้อใดใช้สำนวนไม่ถูกต้อง
    ก.ซื้อล็อตเตอรี่รัฐบาล กว่าคุณจะถูกรางวัลเหมือนงมเข็มในมาหาสมุทร
    ข.คุณปู่ได้แกงเทน้ำพริก พอมีหลายสาวคนใหม่ ก็ไม่เหลียวแลหลานชายคนโต
    ค.ผมไม่กลัวจดหมายขู่นี่หรอก บ้านเมืองมีขื่อมีแป ถ้ามันทำจริงก็ต้องไม่พ้นคุกพ้นตะราง
    ง.อยู่ทีทำงานก็ถูกเจ้านายใช้หัวไม่วางไม่เว้น กลับบ้านยังต้องทำงานบ้านอีกเหนื่อยจริงๆ

    10.ข้อใดใช้สำนวนไม่ถูกต้อง
    ก.มากหมอ มากยา
    ข.นอนหลับไม่รู้นอนคู้ไม่เห็น
    ค.หน้าไหว้หลังหลอก
    ง.คนรักเท่าผืนหนังคนชังเท่าผืนเสื่อ

    • นางสาวปาริชาติ มากแจ้ง

      สำนวน

      ๑. ตอบ ข
      ๒. ตอบ ง
      ๓. ตอบ ง
      ๔. ตอบ ง
      ๕. ตอบ ข
      ๖. ตอบ ค
      ๗. ตอบ ง
      ๘. ตอบ ค
      ๙. ตอบ ก
      ๑๐. ตอบ ง

    • นางสาวธิดารัตน์ สุริยะผล

      สำนวน
      ๑. ตอบ ข
      ๒. ตอบ ง
      ๓. ตอบ ง
      ๔. ตอบ ง
      ๕. ตอบ ข
      ๖. ตอบ ค
      ๗. ตอบ ง
      ๘. ตอบ ข
      ๙. ตอบ ก
      ๑๐. ตอบ ง

  15. นางสาวนัฐชา หนูคง

    นางสาวนัฐชา หนูคง

    แบทดสอบ เรื่อง คำสันธาน
    1.ข้อใดไม่ใช่คำสันธาน
    ก) เขาร้องไห้เพราะเธอทอดทิ้ง
    ข) น้ำท่วมเพราะฝนตกหนัก
    ค) เพราะอยากได้คะแนนดิฉันจึงขยัน
    ง) นกตัวนั้นร้องเพลงเพราะเสียนี่กระไร
    2.ข้อใดใช้คำสันธานไม่ถูกต้อง
    ก) ด้วยเหตุที่สารคดีเป็นงานเขียนที่เผยแพร่อย่างกว้างขวาง กลุ่มผู้อ่านสารคดีจึงมีจำนวนมาก
    ข) ทั้งพฤติกรรมรูปแบบหรือพฤติกรรมแอบแฝงนี้ ถ้าขัดแย้งกันก็จะทำให้เกิดความระส่ำระสายในจิตใจมนุษย์แต่ละคนอย่างมาก
    ค) ไม่เพียงแต่ชาวบ้านเท่านั้นที่เข้าไปหยิบฉวยทรัพย์สินจากที่เกิดเหตุ บุคคลในเครื่องแบบและเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิก็เข้าไปค้าหาทรัพย์สินด้วย
    ง) บทบาทหญิงไทยได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้วก่อนสงครามโลกครั้งที่2 หากแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงเฉพาะบางกลุ่ม
    3. ข้อใดมีสันธานเชื่อมใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน
    ก) ถึงอาจารย์จะดุแต่นักเรียนก็รัก
    ข) ครั้นพายุพัดฝนก็ตก
    ค) ลูกต้องอาบน้ำไม่เช่นนั้นก็ไปกวาดบ้าน
    ง) เพราะเธอรูปร่างดีจึงใส่ชุดนี้สวย

    4. ข้อใดเป็นกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำสันธาน
    ก) อย่างไรก็ตาม
    ข) อย่างนี้ดีไหม
    ค) อย่างไรนะ
    ง) เอาเยี่ยงอย่าง

    5. ข้อใดเป็นสันธานเชื่อใจความคล้อยตามกัน
    ก) ทั้งคุณลุงและคุณป้าเป็นคนใจดี
    ข) เพราะฝนตกหนักน้ำจึงท่วม
    ค) เธอควรหางานทำไม่ก็เรียนต่อ
    ง) กว่าจะรู้ตัวก็สายเกินไป
    6. ประโยคนี้ควรนำสันธานในข้อใดมาเติมจึงจะเหมาะที่สุด ………ลูกเกียจคร้าน แม่….ตีลูก
    ก) ครั้น…..ก็
    ข) เพราะ…..จึง
    ค) ถึง…..ก็
    ง) กว่า….ก็
    7. ข้อใดเป็นสันธานเชื่อมใจความขัดแย้งกัน
    ก) ถึงป่วยหนักเขาก็ยังไปหาเธอ
    ข) เพราะอากาศหนาวจึงใส่เสื้อหนาๆ
    ค) เขาเพลียมากจึงนอนหลับสนิท
    ง) เด็กๆ ต้องดื่มนมไม่เช่นนั้นจะไม่แข็งแรง

    8. ข้อใดไม่ใช่ชนิดของคำสันธาน
    ก) เชื่อมปัจจุบันกับอดีต
    ข) เชื่อมใจความขัดแย้งกัน
    ค) เชื่อมใจความให้เลือก
    ง) เชื่อมใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน
    9. คำสันธานในข้อใดเป็นสันธานเชื่อมใจความคล้อยตามกัน
    ก) เพราะ….จึง
    ข) แต่ทว่า
    ค) ทั้ง….และ
    ง) กว่า….ก็
    10. คำว่า “ให้” ในข้อใดทำหน้าที่เหมือนคำสันธาน
    ก. วิชัยให้เงินแก่ลูก
    ข. ครูสอนให้เด็กเป็นคนดี
    ค. คุณพ่อสอนเทนนิสให้ฉัน
    ง. ครูคือผู้ให้ความรู้

    • นายธีรภาพ หวานแก้ว

      คำสันธาน

      1. ตอบ ง
      2. ตอบ ข
      3. ตอบ ง 4.
      4. ตอบ ข
      5. ตอบ ง 6.
      6. ตอบ 7ข
      7. ตอบ ก 8.
      8. ตอบ ก 9.
      9 ตอบ ค 10.
      10 ตอบ ง

  16. นายชนะภัย นวนไหม

    คำมูล

    ๑. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับคำมูล
    ก. คำไทยแท้ทุกคำเป็นคำมูลพยางค์เดียว
    ข. คำมูลอาจเป็นคำมาจากภาษาอื่นก็ได้
    ค. คำมูลคือคำที่ออกเสียงหนึ่งครั้งและมีความหมาย
    ง. คำมูลที่มีหลายพยางค์เป็นคำมูลที่มาจากภาษาอื่นเท่านั้น

    ๒. ข้อใดไม่เป็นคำมูล
    ก. อิสรภาพ ลบล้าง ข. ประหลาด มณี ค. อสุรา โยธา ง. ยักษา เสนา

    ๓. ข้อใดเป็นคำมูลพยางค์เดียวทุกคำ
    ก. รสดีด้วยน้ำปลา ข. มัสมั่นแกงแก้วตา ค. ของสวรรค์เสวยรมย์ ง. ดุจวาจากระบิดกระบวน

    ๔. คำมูลหลายพยางค์ข้อใดเกิดจากพยางค์ที่มีความหมายทุกคำ
    ก. ตาราง สีดำ ข. กะลาสี มะละกอ ค. นาฬิกา ชีวิต ง. วินาที โหระพา

    ๕. ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทั้งหมด
    ก. ใครเห็นโน้ตเพลงสายฝนของฉันบ้าง
    ข. ทางข้นดอยแม่สลองมีที่พักให้ชมวิวหลายแห่ง
    ค. วันนี้การจราจรไม่คับคั่งเพราะโรงเรียนปิดเทอมแล้ว
    ง. ไปหยุดพักกินข้าวที่ทุ่งนาริมหนองน้ำแห่งหนึ่ง

    ๖. คำในข้อใดประกอบด้วยพยางค์เปิดและพยางค์ปิด
    ก. กุมาร ข. เนื้อหา ค. เฝ้าไข้ ง. แม่น้ำ

    ๗. คำในข้อใด ไทยรับมาจากภาษาเขมรทั้งหมด
    ก. เจริญ ตำบล กาญจน์ ข. ตรัส พิสดาร เผอิญ ค. เขนย ผนวช เสด็จ ง. ชำนาญ สถาพร บำเพ็ญ

    ๘. ข้อใดไม่มีคำยืมมาจากภาษาเขมร
    ก. ไก่ป่าขันแจ้วอยู่แนวไพร เขี่ยคุ้ยขุยไผ่เป็นถิ่นถิ่น
    ข. พวกแตกทัพคงกลับไปกราบทูล เป็นเค้ามูลว่าเราคิดขบถ
    ค. ทั้งผัวเมียแสนอนาถเพียงขาดใจ สุดอาลัยแล้วก็กอดกันโศกา
    ง. เสียงเสือกวางกลางเนินพนมวัน ให้หวั่นหวั่นวังเวงหวาดฤทัย

    ๙. คำในข้อใดเป็นคำมูลพยางค์เดียวทุกคำ
    ก. ค่าน้ำนมแม่นี้ไม่มีอะไรเหมาะสม
    ข. อยากกลับไปซบลงที่ตรงตักแม่
    ค. จากเล็กจนโตโอ้แม่ถนอม
    ง. ปวดศีรษะก็ไปนอนพักเสียก่อนซิ

    ๑๐. ข้อใดให้ความหมายของพยางค์ถูกต้องที่สุด
    ก. พยางค์ คือเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ
    ข. พยางค์ คือเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ จะมีความหมายเสมอ
    ค. พยางค์ คือเสียงที่เปล่งออกมาครั้นหนึ่ง จะมีหรือไม่มีความหมายก็ได้
    ง. พยางค์เกิดจากเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ประสมกัน

    • นางสาวธิดารัตน์ สุริยะผล

      แบบทดสอบ เรื่อง คำซ้อน
      1.ข้อความต่อไปนี้มีคำซ้อนกี่คำ (O-NET 49)
      การระเบิดของภูเขาไฟทำให้หินร้อนจากใต้พิภพดันตัวขึ้นมาเหนือผิวโลก ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ถาโถมเข้าทำลายบ้านเรือน
      และชีวิต ท้องทะเลปั่นป่วน ท้องฟ้ามืดมิดทำให้ผู้คนหวาดกลัวคิดว่าโลกจะแตก
      1. 4 คำ 2. 5 คำ 3. 6 คำ 4. 7 คำ

      2.ข้อใดไม่มีคำซ้อน (ฉบับตุลาคม 2546)
      1. ธรรมดาเกิดมาเป็นสตรี ชั่วดีคงได้คู่มาสู่สม
      2. ตาปะขาวเฒ่าแก่แซ่กันมา พร้อมนั่งปรึกษาที่วัดนั้น
      3. ได้ถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา จะหลบลี้หนีหน้าไปทำไม
      4. แสนรโหโอฬาร์น่าสบาย หญิงและชายต่างกลุ้มประชุมกัน

      3.ข้อใดไม่มีคำซ้อน (๒/๒๕๔๕)
      1. หน้าตาของสลวยดูสดใสขึ้นเมื่อทราบข่าวคนรักของเธอ
      2. สาลินไม่รู้จักมักคุ้นกับอัศนีย์แต่เขาก็มาชวนเธอทำงาน
      3. รจนาตกอยู่ในวังวนของความทุกข์ที่ดูจะหาทางออกไม่ได้
      4. กนกเรขาไม่เดือดร้อนที่คนเข้าใจผิดเรื่องการทำงานของเธอ

      4.ข้อใดเป็นคำซ้อนทุกคำ (A-NET 50)
      1. ลอดลายมังกร สิงห์สาราสัตว์ น้ำท่า
      2. โมโหโกรธา ดั้งเดิม ปางก่อน
      3. เสกสรร เก็บงำ บาปบุญคุณโทษ
      4. วิชาความรู้ ข้าวปลาอาหาร แม่ไม้มวยไทย

      5.ข้อใดมีคำที่สลับคำแล้วไม่เป็นคำซ้อน (A-NET 50)
      1. ปนปลอม ยียวน 2. ร่อนเร่ เลือนราง
      3. ทนทาน โลมเล้า 4. กลับกลอก ลอกเลียน

      6.ข้อใดไม่มีคำซ้อน (O-NET 50)
      1. กินข้าวเสร็จแล้วต้องช่วยกันเก็บถ้วยชามให้เรียบร้อย
      2. ประชาชนกำลังยื้อแย่งกันซื้อเสื้อเหลืองที่เมืองทองธานี
      3. เด็กวัยรุ่นทุกวันนี้ชอบกินเหล้าเมายาประพฤติตนเหลวแหลก
      4. รัฐบาลยอมให้ราคาน้ำมันลอยตัวได้จึงทำให้น้ำมันมีราคาแพง

      7.ข้อใดมีทั้งคำซ้อนและคำประสม (A-NET 49)
      1. ของของใคร ของใครก็ห่วง ของใครใครก็ต้องหวง ห่วงใยรักใคร่ถนอม
      2. ชอบไหม ชอบไหม รูปร่างหน้าตาอย่างนี้ ถามหน่อยเถอะพี่ ชอบไหม ชอบไหม
      3. น้องเปิ้ลน่ารัก น้องเปิ้ลน่ารัก ผมเหงาอ้างว้างเปล่าเปลี่ยว ผมอยู่คนเดียวในความมืด
      4. ไก่ไหมครับไก่ ซื้อไหมครับ จะกลับแล้วไก่ ไก่ขายถูกถูกแถมกระดูกกับไม้เสียบไก่

      8.ข้อใดเป็นคำซ้อนทุกคำ
      ๑. ซ้ำซ้อน ซ่อนรูป ซักฟอก
      ๒. ถ่องแท้ ถี่ถ้วน ถากถาง
      ๓. บีบคั้น เบียดเบียน เบาความ
      ๔. แปรผัน เป่าหู โปรยปราย

      9.ข้อใดเป็นคำเป็นคำซ้อนทุกคำ
      ๑. แนบชิด กับแกล้ม เก่งกาจ
      ๒. รีดไถ กล่าวหา เอาอย่าง
      ๓. อ้อยอิ่ง ป่าวร้อง โยนกลอง
      ๔. หมดสิ้น กดดัน ใหม่เอี่ยม

      10.คำซ้อนในข้อใดประกอบขึ้นจากคำที่มีความหมายต่างกันเล็กน้อย
      ๑. ขวากหนาม ซ่อมแซม
      ๒. สักการบูชา เปลี่ยนแปลง
      ๓. คาดคะเน ซ่อนเร้น
      ๔. หยุดยั้ง อภิบาลรักษา

    • พรพรรณ ชารัตน์

      มีเฉลยไหมค่ะ

  17. นายอนุชา ชูแก้ว

    แบบฝึกหัดเรื่องคำสนธิ
    ๑. ข้อใดเป็นสระสนธิ
    ก. ศักดาวุธ
    ข. อาณาจักร
    ค. ทิวาวาร
    ง. สาธุโภชน์
    ๒. คำใดไม่ใช่สระสนธิ
    ก. บุรินทร์
    ข. นเรศวร
    ค. มโหฬาร
    ง. มโนภาพ
    ๓. เพราะเหตุใดคำว่า “กระยาหาร” จึงไม่เป็นคำสนธิ
    ก. ไม่ใช่คำบาลีรวมกับคำบาลี
    ข. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตัวอักษร
    ค. ไม่ใช่คำบาลีหรือสันสกฤตรวมกัน
    ง. ไม่ได้แปลจากคำหลังไปยังคำหน้า

    ๔. “ศิษยานุศิษย์” แยกสนธิได้อย่างไร
    ก. ศิษยานุ + ศิษย์
    ข. ศิษย + อนุศิษย์
    ค. ศิษยา + นุศิษย์
    ง. ศิษยา + อนุศิษย์
    ๕. “สามัคยาจารย์” แยกสนธิได้อย่างไร
    ก. สามัคย + จารย์
    ข. สามัคยา + จารย์
    ค. สามัคย + อาจารย์
    ง. สามัคคี + อาจารย์
    ๖. “ราชินี + อุปถัมภ์” สนธิกันจะได้คำใด
    ก. ราชินูปถัมภ์
    ข. ราชิโนปถัมภ์
    ค. ราชินยุปถัมภ์
    ง. ราชินโนปถัมภ์
    ๗. “ครุปกรณ์” แยกสนธิจะได้คำใด
    ก. ครุ + ปกรณ์
    ข. ครุ + อปกรณ์
    ค. ครุ + อุปกรณ์
    ง. คร + อุปกรณ์
    ๘. คำว่า “หัตถาจารย์” เมื่อแยกสนธิจะเป็นเช่นไร
    ก. หัตถิ + จารย์
    ข. หัตถา + จารย์
    ค. หัตถี + อาจารย์
    ง. หัตถ + อาจารย์
    ๙. คำว่า อัคค + โอภาส เมื่อสนธิกันจะเป็นเช่นไร
    ก. อัคโคภาส
    ข. อัคโยภาส
    ค. อัคโวภาส
    ง. อัคคิโยภาส
    ๑๐. ข้อใดเป็น นฤคหิตสนธิ ทุกคำ
    ก. สุโขทัย อัคคี อเนก
    ข. สมาคม กินนร สมัย
    ค. ทุคติ สัญญา โกสินทร์
    ง. ชโลทร อุตรีสาน สมุหทัย

    • นายนัฐพล สุดขาวง เลขที่ 2

      ตอบ คำสนธิ
      ของ นายอนุชา ชูแก้ว
      โดย นายนัฐพล สุดขาว
      ข้อ 1. ตอบ ก.
      ข้อ 2. ตอบ ง.
      ข้อ 3. ตอบ ง.
      ข้อ 4. ตอบ ค.
      ข้อ 5. ตอบ ง.
      ข้อ 6. ตอบ ก.
      ข้อ 7. ตอบ ค.
      ข้อ 8. ตอบ ง.
      ข้อ 9. ตอบ ข.
      ข้อ 10. ตอบ ข.

  18. ธีรภาพ หวานแก้ว

    คำกริยา

    ๑.คำที่ขีดเส้นใต้ข้อใดเป็นคำกริยาอกรรม

    ๑. บริเวณป่ารอบตัวมืดสนิท

    ๒. น้ำหวานเหนียวข้นกระเซ็นติดฝามุมห้อง

    ๓. เราต่างถอดรองเท้าออกวางไว้ข้างบันได

    ๔. สายลมแรงโยกกิ่งก้านต้นไม้ให้ไหวเอน

    ๒.ข้อใดเป็นคำพ้องที่เป็นคำนามและคำกริยา

    ๑. มันชนิดนี้เป็นมันที่อร่อยกว่ามันชนิดอื่น

    ๒. เขาปีนเขาได้แสดงว่าเขาแข็งแรง

    ๓. แม่ขันน้องจนขันตกจากมือก็ยังไม่หายขัน

    ๔. ถ้ากันไปด้วยก็คงจะกันแกไม่ให้ไปตีกันกับเขา

    ๓.ข้อใดมีกริยาเป็นคำประสมทั้งหมด

    ๑. คุณปูนั่งเล่านิทาน หลานๆ ยิ้มแป้น

    ๒. เวลาแดดร้อนจัดต้องเดินกางร่ม

    ๓. เขาชอบออกตัวเพราะเกรงใจเพื่อนๆ

    ๔. พ่อถ่ายรูปน้องขณะนอนหลับ

    ๔.ข้อใดต้องใช้คำกริยา ”ขัน”

    ๑. ช่างประปาคงใช้คีม…ฝาท่อไม่ออก เลยยังไม่ซ่อม

    ๒. ก๊อกน้ำเกลียวหวาน…ไม่อยู่ น้ำยังหยด

    ๓. ผนังปูน…ตะปูไม่อยู่ ปูนร่วงมาก

    ๔. เชือกหลุดทำให้ขัน…รอก ปิดหลังคาไม่ได้

    ๕.คำกริยาที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดไม่ใช่กริยาออกรรม

    ๑. ตัวละครผ่านออกประตูมาทางนี้

    ๒. นางกินรีพำนักอยู่ที่เขาไกรลาส

    ๓. พระสุธนตามนางมโนราห์ไป

    ๔. ผู้แสดงร่ายรำด้วยท่วงทีเข้าทำนองเพลง

    ๖.คำที่ขีดเส้นเส้นใต้ในข้อใดเป็นคำกริยาสกรรม

    ๑. พวกตัดไม้ยังตัดกันไม่หยุด

    ๒. วัวแดงตัวนั้นล้มจมพงหญ้า

    ๓. ขบวนเรือถึงวัดตอนดึกเกือบห้าทุ่ม

    ๔. ไม้สักต้นกำลังงามขึ้นปนกับไม้แดงไม้ยาง

    ใช้คำข้อความต่อนี้ตอบคำถามข้อ ๗.

    ก.เธอจงถักทอฝันที่เธอหวัง ข.หนึ่งชีวิตหนึ่งใจมอบให้เพียงเธอ

    ค.อุปสรรคขวากหนามทิ่มแทงอย่างโหดร้าย ง.เกิดคำถามขึ้นในใจว่าทำไมผู้ใหญ่ถูกเสมอ

    ๗.คำที่ขีดเส้นใต้ข้อใดทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก

    ๑. ข้อ ก.

    ๒. ข้อ ข.

    ๓. ข้อ ค.

    ๔. ข้อ ง.

    ๘.ข้อใดใช้คำกริยาได้ถูกต้อง

    ๑. ถ้าเขาไม่จำกัดตัวเองจากคนกลุ่มอื่น เขาก็จะเป็นที่รู้จักมากกว่านี้

    ๒. เขาทำงานหนักมาก ไม่ค่อยมีเวลาให้กับคอบครัวใน ที่สุดก็ต้องเลิกรากับภรรยา

    ๓. นายช่างไม่ถือตัวเลย ช่วงพักกลางวันเขามักจะร่วมรับประทานอาหารกับคนงาน

    ๔. นักท่องเที่ยวประทับใจที่เครื่องประดับของคนไทยเราราคาถูกแต่มีคุณภาพต่ำ

    ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ๙.

    ”เสด็จเพคะ เสด็จให้มาทูลถามเสด็จว่าเสด็จจะเสด็จหรือไม่เสด็จ ถ้าเสด็จจะเสด็จเสด็จก็จะเสด็จ ถ้าเสด็จไม่เสด็จเสด็จก็ไม่เสด็จ”

    ๙.ข้อความข้างต้นนี้มีกริยาที่เป็นกริยาราชาศัพท์กี่คำ

    ๑. ๕ คำ

    ๒. ๖ คำ

    ๓. ๗ คำ

    ๔. ๘ คำ

    ๑๐.ประโยคใดใช้คำกริยาถูกต้องตรงตามความหมาย

    ๑. หลังจากผ่าตัดได้เพียง ๑ อาทิตย์ ดาราชื่อดังก็ฟื้นตัวดีขึ้นมาก

    ๒. รัฐบาลอนุมัติเงินงบประมาณ ๓๐๐ ล้านบาท ให้ฟื้นฟูบาทวิถีในกรุงเทพฯ

    ๓. สะพานนี้ชำรุดแล้ว ทางจังหวัดกำลังเตรียมรื้อฟื้นต้นเดือนหน้านี้

    ๔. ชาวบ้านสามารถพลิกฟื้นแผ่นดินที่แห้งแล้งแห่งนี้ให้สมบูรณ์ได้

  19. นายสิทธิพงษ์ นาวาพัสดุ

    คำนาม

    1. ข้อใดไม่มีคำอาการนาม
    ก. เขามีความลับคับอก
    ข. การนอนเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด
    ค. ความเมตตาเป็นคุณธรรมอันประเสริฐ
    ง. การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์

    2. ข้อใดใช้ลักษณะนามผิด
    ก.วัดนี้มีเจดีย์หลายองค์
    ข.พระพุทธรูปองค์นี้งามมาก
    ค.พระฤาษีองค์นี้มาจากไหน
    ง.ในพระบรมมหาราชวังมีพระที่นั่งหลายองค์

    3. “ฉันไปทำบุญที่วัดในวันเข้าพรรษา” คำที่พิมพ์ตัวหนาทำหน้าที่ตรงกับข้อใด
    ก. กรรมตรง
    ข. กรรมรอง
    ค. ขยายกริยา (บอกสถานที่)
    ง. ขยายกริยา (บอกเวลา)

    4. “พิมพ์ขายบ้านน้องชายแล้ว” คำที่พิมพ์ตัวหนาทำหน้าที่ตรงกับข้อใด
    ก. กรรมตรง
    ข. กรรมรอง
    ค. ส่วนเติมเต็ม
    ง. ขยายกริยา (บอกสถานที่)

    5. “อนงค์สวยเหมือนแม่” คำที่พิมพ์ตัวหนาทำหน้าที่ตรงกับข้อใด
    ก. กรรมตรง
    ข. กรรมรอง
    ค. ส่วนเติมเต็ม
    ง. ขยายคำนาม

    6. “เรื่องตาลโตนดของหม่อมเจ้าจักรพันธ์ เพ็ญศิริจักรพันธุ์ ฉันอ่านแล้ว” คำที่พิมพ์ตัวหนาทำหน้าที่ตรงกับข้อใด
    ก. ประธาน
    ข. กรรมตรง
    ค. กรรมรอง
    ง. ส่วนเติมเต็ม

    7. ข้อใดมีคำนาม
    ก. พระคุณเจ้าจะไปไหน
    ข. กระผมเคารพพระคุณเจ้าครับ
    ค. ข้าพเจ้าเกรงใจท่านมาก
    ง. พระยาอุปกิตศิลปสารแต่งเรื่องอักขรวิธี

    8. คำที่พิมพ์ตัวหนาข้อใดทำหน้าที่เป็นลักษณะนามได้
    ก. ทหารทั้งปวงรอคอยเป็นขนัดอยู่แล้ว
    ข. ก็จะได้เร่งลงมือยิงธนูไฟ
    ค. บรรดาม้าทุกตัวก็รัดขลุมคับปาก
    ง. ขุนพลนั้นยืนอยู่บนเรือน้อย

    9. “ครั้นรุ่งแสงสุริยันตะวันโด่ง โก้งโค้งลงในอ่างแล้วล้างหน้า
    เสร็จเสวยข้าวตังกับหนังปลา สงสระสรงคงคาในท้องคลอง”
    ข้อความนี้มีคำนามกี่คำ
    ก. 7 คำ
    ข. 8 คำ
    ค. 9 คำ
    ง. 10 คำ

    10. คำนามในข้อ 9 เป็นคำนามชนิดใด
    ก. นามทั่วไป
    ข. นามเฉพาะ
    ค. นามบอกหมวดหมู่
    ง. อาการนาม

  20. นายวรชาติ ผุดผ่อง เลขที่ 5

    แบบฝึกหัด
    คำซ้ำ
    ๑. ข้อใดไม่มีคำซ้ำ

    ก. หลานหลานคุณยายน่ารักทุกคน ข. คนรวยคือคนที่รู้จักพอพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
    ค. ผมเธอด๊ำดำใช้อะไรบำรุงผม ง. เนื้อวัวย่างทุบทุบสักหน่อยทำให้ทานง่าย

    ๒. ข้อใดไม่ใช่คำซ้ำ
    ก. ดี๊ดี ค้าวขาว ข. เร็ว ๆ เบา ๆ ค. อยู่ ๆ พลาง ๆ ง. งู ๆ นานา

    ๓. ข้อใดไม่ควรใช้ไม้ยมกแทนคำเพื่อให้เป็นคำซ้ำ
    ก. คนไข้หนาวจนตัวสั่นริกริก ข. ทุกทุกคนก็ชอบความสวยงาม
    ค. คนคนนี้ไว้ใจไม่ได้ ง. เขาควรจะพูดกันซึ่งซึ่งหน้า

    ๔. ข้อใดใช้ไม้ยมกไม่ถูกต้อง
    ก. ฉันพบเขาตอนมืดๆ เลยไม่เห็นจะๆ ข. เธอนี่ความรู้ก็งูๆ ปลาๆ ทำอะไรก็ลวกๆ ไป
    ค. นางงามปีนี้สาวๆ สวยๆ ทั้งนั้นเลย ง. วันๆ เธอไม่ทำอะไรเอาแต่นั่งๆ นอนๆ

    ๕. คำซ้ำข้อใดเป็นพหูพจน์
    ก. สินค้าราคาถูก ๆ คนชอบซื้อ ข. ไม่น่าคบคนบ้าๆ อย่างนั้นเลย
    ค. น่าเสียดายคนดีๆ อย่างคุณ ง. เพื่อนๆ ชอบวิชาภาษาไทยกันทั้งนั้น

    ๖. คำซ้ำข้อใดไม่เป็นพหูพจน์
    ก. เดินทางมากับญาติๆ ข. เป็นห่วงลูกๆ จึงต้องมา
    ค. เขาชอบนั่งกับพี่ๆ ง. ถึงจะโตๆ กันแล้วก็อดห่วงไม่ได้

    ๗. ข้อความต่อไปนี้สามารถเขียนไม้ยมกแทนที่คำซ้ำได้กี่แห่ง “อากาศร้อนร้อนชวนน้องน้องไปเที่ยวชายทะเลไกลไกลกลับไปพบฝนตกหนัก อากาศหนาวหนาวจนคางสั่น”
    ก. ๒ แห่ง ข. ๓ แห่ง ค. ๔ แห่ง ง. ๕ แห่ง

    ๘. ข้อใดเป็นคำซ้ำที่เป็นคำวิเศษณ์
    ก. นายหนึ่งพูดง่ายง่ายว่าก้าวไปให้ทันโลก ข. โรงเรียนเราอยู่ใกล้ใกล้ศาลากลางจังหวัด
    ค. เรารักเพื่อนเพื่อนทุกคน ง. ใครใครก็อยากเป็นคนดี

    ๙. คำซ้ำข้อใดแสดงอาการต่อเนื่อง
    ก. ฉันรู้เรื่องนี้พอเลาๆ ข. เธอทำงานลวกๆ พอให้เสร็จ
    ค. อาจารย์สอนๆ ไปก็ให้นักเรียนทำการบ้าน ง. นักเรียนจะรู้แค่งูๆ ปลาๆ ไม่ได้นะ

    ๑๐. คำซ้ำในข้อใดมีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิมสิ้นเชิง
    ก. คุณแม่ชอบดื่มน้ำเย็นๆ ข. ตอนเช้าๆ อากาศเย็นสบาย
    ค. ห้องมันแคบนั่งชิดๆ กันหน่อย ง. พ่อสัญญาว่าจะให้รางวัล ไปๆ ก็ลืม

    • นางสาวอรพรรณ ณิชากรพงศ์

      1. ตอบ ก.
      2. ตอบ ง
      3. ตอบ ข
      4. ตอบ ค
      5. ตอบ ข
      6. ตอบ ง
      7. ตอบ ง
      8. ตอบ ก
      9. ตอบ ง
      10. ตอบ ข

      • นางสาวอรพรรณ ณิชากรพงศ์

        ตอบใหม่น่ะค่ะ1. ตอบ ข.
        2. ตอบ ง
        3. ตอบ ค
        4. ตอบ ก
        5. ตอบ ง
        6. ตอบ ง
        7. ตอบ ค
        8. ตอบ ก
        9. ตอบ ค
        10. ตอบ ง

  21. นายณัฐพลสุดขาว เลขที่ 2

    แบบทดสอบ
    เรื่อง “คำอุทาน”

    คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกตอบคำตอบที่ถูกต้องที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียว

    ๑. ข้อใดใช้คำอุทานไม่ถูกต้อง
    ก. นี่ ! เธอมากับใคร ข. เอ๊ะ ! หน้าไม่อาย
    ค. เอ้อเฮอ ! สวยอะไรอย่างนี้ ง. โอ๋ ! อย่าร้องไห้ไปเลยลูก
    ๒. ข้อใดใช้คำอุทานไม่ถูกต้อง
    ก. อื้อฮือ ! มากจริง ๆ ข. อือ ! จริงของเธอนั่นแหละ
    ค. ไชโย ! พวกเราชนะแล้ว ง. อย่า ! จอดรถขวางทางเข้าออก
    ๓. ข้อใดใช้คำอุทานไม่ถูกต้อง
    ก. โอ๊ย ! เจ็บจังเลย ข. โธ่ ! น่าสงสารจัง
    ค. หยุด ! วิ่งเดี๋ยวนี้นะ ง. อ๋อ ! ฉันนึกออกแล้ว
    ๔. ข้อใดใช้คำอุทานไม่ถูกต้อง
    ก. อ้าว ! เธอก็มาด้วย ข. แหม ! ไปกันหรือยัง
    ค. เอ๊ะ ! หนังสือฉันหายไปไหน ง. โอ้โฮ ! วันนี้เธอมาโรงเรียนแต่เช้าเลยนะ
    ๕. ข้อใดใช้คำอุทานไม่ถูกต้อง
    ก. ฮื้อ ! อย่ามายุ่งกับฉัน
    ข. เอ๊ย ! ใครมาทำเชือกยุ่งอีกแล้ว
    ค. ชะชะ ! เด็ก ๆ พวกนี้พูดดีด้วยไม่ได้ต้องตีเสียให้เข็ด
    ง. โธ่ ! ไม่น่าผิดใจกันเลย
    ๖. ข้อใดใช้คำอุทานไม่ถูกต้อง
    ก. พุทโธ่ ! ทำไมถึงแพงจัง ข. อุ๊ย ! จักจี้นะ
    ค. วุ้ย ! น่ารำคาญ ง. อ๋อ ! ฉันคิดออกแล้ว
    ๗. ข้อใดใช้คำอุทานไม่ถูกต้อง
    ก. เออ ! จริงของเธอนั่นแหละ ข. เอ๊ว ! คนอะไรช่างหน้าไม่อาย
    ค. อุบ๊ะ ! ข้าบอกเอ็งแล้วว่าอย่าทำ แต่เอ็งก็ไม่เชื่อ ง. อนิจจา ! ฉันถูกรางวัลที่หนึ่งแล้ว
    ๘. ข้อใดใช้คำอุทานไม่ถูกต้อง
    ก. เอ๊ ! ปากกาฉันอยู่ที่ไหนนะ ข. หน็อยแน่ ! ทำผิดแล้วยังจะอวดดีอีก
    ค. ว้าย ! ผีหลอก ง. เฮ้ย ! ผมละเบื่อเต็มที
    ๙. คำอุทานในข้อใดใช้เปล่งออกมาเพื่อแสดงความดูแคลนหรือไม่เชื่อถือ
    ก. เฮอ ข. เฮ่อ ค. เฮ้อ ง. ไฮ้
    ๑๐. คำอุทานในข้อใดใช้แสดงอาการขู่
    ก. ฮิ ข. ฮึ่ม ค. ฮึย ๆ ง. เฮ่ย

    • นางสาวจุฑาทิพย์ จันทร์เมือง เลขที่ 14

      ตอบ คำอุทาน
      ของ นายณัฐพล สุดขาว
      โดย นานางสาวจุฑาทิพย์ จันทร์เมือง
      ข้อ 1. ตอบ ก.
      ข้อ 2. ตอบ ข.
      ข้อ 3. ตอบ ค.
      ข้อ 4. ตอบ ข.
      ข้อ 5. ตอบ ข.
      ข้อ 6. ตอบ ก.
      ข้อ 7. ตอบ ง.
      ข้อ 8. ตอบ ง.
      ข้อ 9. ตอบ ข.
      ข้อ 10. ตอบ ข.

  22. นางสาวจุฑาทิพย์ จันทร์เมือง

    แบบทดสอบ
    เรื่อง คำประสม
    ๑. ข้อใดมีคำประสมทุกคำ
    ก. คำขาด คำคม คำราม ข. เดินแต้ม เดินรถ เดินสะพัด
    ค. น้ำป่า น้ำไหล น้ำมือ ง. ติดลม ติดใจ ติดขัด
    ๒. ข้อใดมีคำประสม
    ก. เห็นกิ่งกีดมีดพร้าเข้าราราน ข. หลังคาใหญ่พื้นเล็กเป็นโลงผี
    ค. ดูเหย้าเรือนหาเหมือนอย่างไทยไม่ ง. ถึงหนามกรานก็ไม่เจ็บเหมือนเหน็บแนม
    ๓. ข้อความต่อไปนี้ส่วนใดมีคำประสมทั้ง ๒ ส่วน
    ๑) บริเวณสวนกว้างขวาง / ๒) มีสนามที่ได้รับการดูแลจากเทศบาลเมือง /
    ๓) มีประติมากรรมเป็นรูปเทพธิดาแสนงาม / ๔) มุมหนึ่งมีนาฬิกาแดดคอย
    บอกเวลา
    ก. ส่วนที่ ๑ และ ๔ ข. ส่วนที่ ๒ และ ๓
    ค. ส่วนที่ ๑ และ ๓ ง. ส่วนที่ ๒ และ ๔
    ๔. ข้อใดมีกริยาเป็นคำประสมทั้งหมด
    ก. คุณปู่นั่งเล่านิทาน หลานๆยิ้มแป้น ข. เวลาแดดร้อนจัดต้องเดินกางร่ม
    ค. เขาชอบออกตัวเพราะเกรงใจเพื่อนๆ ง. พ่อถ่ายรูปน้องขณะนอนหลับ
    ๕. ข้อใดมีคำที่ไม่ใช่คำประสมปนอยู่
    ก. ทางข้าม ทางด่วน ทางผ่าน ทางหลวง ข. ยาเขียว ยาชา ยาธาตุ ยาเรือ
    ค. ของเก่า ของโจร ของร้อน ของไหว้ ง. น้ำกรด น้ำเกลือ น้ำข้าว น้ำเหลือง
    ๖. ข้อใดมีคำประสมทุกคำที่ประกอบด้วยคำนามกับคำกริยา
    ก. ใจดำ น้ำใช้ ใบพัด ข. เข็มกลัด ข้าวต้ม ส้มตำ
    ค. กันชน ห้องเรียน นักเขียน ง. เครื่องดื่ม น้ำหวาน บ้านพัก
    ๗. คำประสมในข้อใดเป็นคำไทยแท้ทุกคำ
    ก. น้ำปลา เลือกตั้ง รถจี๊ป ข. เลขท้าย ห่อหมก เด็กปั๊ม
    ค. หมอฟัน เตาถ่าน กันสาด ง. ผลไม้ ลายเซ็น ร้านกาแฟ
    ๘. ข้อใดมีคำประสมที่ทำหน้าที่ เหมือนกัน หมดทุกคำ
    ก. ขาดมือ คนทรง จับใจ เจ้ากู ข. กรวดน้ำ ขอโทษ คนสนิท จัดการ
    ค. ข้าวตอก เงินตรา ผิดใจ บุตรเลี้ยง ง. กระดานชนวน ข้าวต้ม คนกลาง เงินเดือน
    ๙. ข้อใดมีคำประสมอยู่ ๓ คำ
    ก. ฝอยทอง น้ำตก ถุงเท้า ข้าวต้ม ข. ดอกเบี้ย พิษณุโลก สี่แยก โรงพัก
    ค. แม่ทัพ แว่นตา ยางลบ น้ำแข็ง ง. ไฟฟ้า ปากกา รถยนต์ ตลาดสด
    ๑๐. ข้อใดมีคำที่ ไม่ใช่ คำประสม
    ก. โรงงาน พริกกระป๋อง ช่องลม ข. นิราศรัก ดอกไม้ สะพานลอย
    ค. มะม่วงกวน สวนครัว ไฟสวาท ง. ผสมเทียม เยี่ยมราษฏร กลอนเปล่า

    • นายวรชาติ ผุดผ่อง เลขที่ 5

      ตอบ คำประสม
      ของ นางสาวจุฑาทิพย์ จันทร์เมือง
      โดย นายวรชาติ ผุดผ่อง
      ข้อ 1. ตอบ ข.
      ข้อ 2. ตอบ ข.
      ข้อ 3. ตอบ ง.
      ข้อ 4. ตอบ ข.
      ข้อ 5. ตอบ ข.
      ข้อ 6. ตอบ ข.
      ข้อ 7. ตอบ ค.
      ข้อ 8. ตอบ ง.
      ข้อ 9. ตอบ ข.
      ข้อ 10. ตอบ ง.

ส่งความเห็นที่ นายอนุชา คงบัวเล็ก ยกเลิกการตอบ